รายการตรวจประเมินด้านการจัดระบบงาน
รายการ
|
แนวทางการประเมิน
|
42. ควรขจัดงานบางอย่างที่ต้องใช้แรงมากเกินไปโดยการใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วยผ่อนแรง
|
ลักษณะงานที่มีการยกหรือเคลื่อนย้ายวัตถุหรือชิ้นงานที่มีน้ำหนักมากมีขนาดใหญ่ หรือมีรูปร่างไม่สะดวกต่อการจับยึด ควรมีการใช้อุปกรณ์ช่วยผ่อนแรง
|
43. ควรให้พนักงานสดชื่นตื่นตัวอยู่เสมอ ลดความเมื่อยล้าโดยการเปลี่ยนลักษณะงานที่ทำบ่อยๆ มีโอกาสเปลี่ยนอิริยาบถการทำงาน มีช่วงพักสั้นๆ มีโอกาสพูดคุยกับพนักงานอื่นๆ บ้าง หรือมีเพลงฟัง
|
งานที่มีความซ้ำซากจำเจ ควรจัดให้มีการพักหรือเปลี่ยนอิริยาบถในช่วงเวลาสั้นๆโดยกำหนดเวลาให้ชัดเจนเพื่อพนักงานได้มีการพักตามเวลาที่กำหนดจริงๆ หรืออาจมีการหมุนเวียนการทำงานในรอบเวลาใดเวลาหนึ่ง
|
44. ควรใช้หลักการทำงานที่มีสต๊อกสำรอง เพื่อให้การไหลของงานเป็นไปอย่างสม่ำเสมอในขณะที่พนักงานสามารถควบคุม การทำงานของตนเองได้
|
การทำงานของพนักงานไม่ควรถูกเร่งรัดหรือควบคุมจากปัจจัยภายนอกมากเกินไป เช่น การทำงานที่ต้องให้ทันตามการไหลของสายพาน การทำงานให้ทันกับความเร็วของเครื่องจักร เป็นต้น ในบางกรณีอาจมีสต๊อกสำรองเพื่อให้งานไหลสะดวกราบรื่น
|
45. ควรใช้กลุ่มควบคุมคุณภาพ หรือทำงานเป็นกลุ่มเพื่อช่วยกันปรับปรุงผลผลิตและคุณภาพ
|
พนักงานมีส่วนร่วมในกลุ่มควบคุมคุณภาพ มีข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ สมาชิกกลุ่มควบคุมคุณภาพเป็นไปด้วยความสมัครใจ
|
46. ควรจัดวางผังใหม่และลำดับขั้นตอนการทำงานใหม่เพื่อช่วยให้การไหลของการผลิตดีขึ้น
|
การวางผังเครื่องจักรและสถานีงานควรทำให้เกิดการไหลของงานที่ราบรื่นวัตถุดิบหรือชิ้นงานควรจะไหลอย่างต่อเนื่องไม่วกไปวนมา ไม่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ที่ไม่จำเป็น และไม่ทำให้เกิดสต๊อกในระหว่างผลิตที่ไม่จำเป็น
|