วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557

การตรวจประเมินโดยใช้แบบประเมิน ISO



การประเมินโดยการใช้มาตรฐาน ISO/TS 20646-1 เป็นการดำเนินการแบบมีส่วนร่วม (Participation Approach) ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและอาชีวอนามัยขององค์กรและผู้ที่รับผิดชอบหรือปฏิบัติงานในพื้นที่ที่จะทำการประเมินเพื่อการปรับปรุงงาน (กรุงไกรวงศ์ & กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, 2551) ขั้นตอนในการดำเนินงาน โดยใช้มาตรฐาน ISO/TS20646-1

ขั้นตอนในการดำเนินงานโดยใช้มาตรฐาน ISO/TS 20646-1
ขั้นตอน
รายละเอียด
เอกสาร
ขั้นตอนที่ 1:
ชี้แจงและเลือกพื้นที่
-วางแผนและกำหนดขอบเขตของการวิเคราะห์งาน
-อาจเลือกพื้นที่/หน่วยงานต้นแบบก่อนแล้วค่อยขยายผล
แผนการดำเนินงาน
(ในรูป Gantt Chart)
ขั้นตอนที่ 2:
แนะนำรายละเอียด
-อธิบายหลักการวิเคราะห์งานโดยใช้มาตรฐาน ISO/TS 20646-1
-นำเสนอภาพตัวอย่างในการดำเนินงาน

ขั้นตอนที่ 3:
ชี้บ่งอันตราย
-สำรวจเพื่อชี้บ่งอันตรายที่เกี่ยวข้องกับภาระงานของกล้ามเนื้อโดยให้สมาชิกทุกคนประเมินด้วยตนเองในพื้นที่/หน่วยงานต้นแบบที่เลือก
หลังจากที่ทุกคนสำรวจเสร็จ ให้ประชุมระดมสมองเพื่อสรุปผลประเมินที่ได้ให้อภิปรายจากสภาพที่พบจริงและพิจารณาด้วยเหตุผล ห้ามใช้วิธีการโหวตเสียงข้างมาก
แบบสำรวจ Annex B
ขั้นตอนที่ 4:
สำรวจสภาพการทำงาน
-วิเคราะห์แบบสำรวจโดยหัวข้อในแบบสำรวจอาจมีการปรับให้เหมาะสมกับหน่วยงานที่จะวิเคราะห์โดยอาจจะตัดข้อที่ไม่เกี่ยวข้องออกและเพิ่มหัวข้อใหม่เข้าไปก็ได้โดยให้สมาชิกวิเคราะห์ร่วมกัน
-สำรวจสภาพการทำงานของพื้นที่/หน่วยงานต้นแบบที่เลือกโดยให้สมาชิกทุกคนประเมินด้วยตนเอง เมื่อพบแนวปฏิบัติที่ดีควรต้องมีการบันทึกด้วย
-หลังจากนั้นให้ประชุมร่วมกันเพื่อสรุปสภาพการทำงานที่ดีและหัวข้อที่ควรปรับปรุง แล้วเรียงลำดับความสำคัญของหัวข้อที่ควรปรับปรุง
แบบสำรวจ Annex C
ขั้นตอนที่ 5:
ทำแผนการดำเนินงาน
-นำผลที่ได้จากขั้นตอนที่ 3 และ 4 มาสรุปเพื่อจัดทำแผนดำเนินการเพื่อการปรับปรุง (ควรระบุกิจกรรมผู้รับผิดชอบ งบประมาณและกรอบเวลา)
-นำเสนอแผนต่อผู้บริหารเพื่อให้ความเห็นชอบและอนุมัติก่อนการดำเนินการ
แผนการปรับปรุง
(ในรูป Gantt Chart)
ขั้นตอนที่ 6:
ดำเนินการปรับปรุง
-ดำเนินการตามแผนการปรับปรุง
แผนการปรับปรุง
ขั้นตอนที่ 7:
ประเมินผลหลังปรับปรุง
-ประเมินผลโดยเปรียบเทียบสภาพการทำงานก่อนและหลังการปรับปรุง
-สอบถามความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ โดยใช้แบบสอบถามเพื่อสำรวจภาระงานของกล้ามเนื้อ (อาจจะสอบถามก่อนปรับปรุงแล้วสอบถามหลังปรับปรุงอีกครั้งโดยสอบถามพนักงานกลุ่มเดียวกัน
แบบสอบถาม
 Annex D
ขั้นตอนที่ 8:
ขยายผล
-สรุปและประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานให้บุคลากรในองค์กรรับทราบ
-ขยายผลไปยังพื้นที่/หน่วยงานอื่นๆในองค์กร