วันอังคารที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2557

การตรวจประเมินโดยใช้ Ergonomic checkpoints


        Ergonomic checkpoints เป็นแบบประเมินการยศาสตร์ที่ใช้สำหรับการค้นหาปัญหา หรือจุดที่ควรต้องปรับปรุงตามหลักการทางการยศาสตร์เพื่อให้มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย พนักงานมีสุขอนามัยที่ดีขึ้น และการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น Ergonomic checkpoints เป็นแบบประเมินที่คิดค้นร่วมกับระหว่างผู้เชี่ยวชาญของหลายประเทศโดยมี 2 องค์กรหลักคือ สมาคมการยศาสตร์นานาชาติ (International Ergonomics Association, IEA) และสำนักงานแรงงานนานาชาติ ( International Labour Office, ILO) ร่วมกันจัดทำแบบประเมินชุดนี้ แบบประเมินนี้จัดทำครั้งแรกในปี .. 1996 โดยมีหัวข้อในการประเมินทั้งหมด 128 หัวข้อ แบ่งออกเป็น 10 ด้านด้วยกัน (ตารางที่ 11.9) หลังจากนั้นก็มีการปรับปรุงให้มีหัวข้อในการประเมินทั้งหมด 132 หัวข้อ โดยยุบรวมบางหัวข้อ และเพิ่มหัวข้อใหม่ 20 หัวข้อ ซึ่งหัวข้อใหม่จะเกี่ยวกับสถานีงานคอมพิวเตอร์ ห้องขับและการขับรถยก การทำงานในที่สูง การทำงานในสภาพแวดล้อมที่เย็น ระบบปรับอากาศ พื้นที่การทำงานในสำนักงาน ฉลากสำหรับการบรรจุสารเคมีอันตราย การนำของเสียกลับมาใช้ การทำงานในที่อับอากาศ อุปกรณ์ดับเพลิง แผนอพยพ การออกกำลังกาย การมีส่วนร่วมของคนงาน การอพยพคนงาน คนงานอายุน้อย วัฒนธรรมในองค์กร และระบบบริหารความเสี่ยงในองค์กรใน แบบประเมินฉบับที่ 2 นี้ประกาศใช้เมื่อปี .. 2010 โดยยุบหัวข้อหลักให้เลือกเพียง 9 ด้าน
....ติดตามอ่านได้ในบทความถัดไป....