วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557
ข้อแนะนำในการใช้งานรายการตรวจประเมิน Ergonomic checkpoints
5. เมื่อสิ้นสุดการตรวจประเมิน จะทำการรวบรวม หัวข้อที่ “มี” หรือ “เร่งด่วน” เพื่อนำมาจัดทำแผนการดำเนินงานในการปรับปรุง ในกรณีที่ “เร่งด่วน” ควรต้องมีการดำเนินการโดยทันที แต่ในกรณีที่ “มี” อาจจะพิจารณาจากกิจกรรมที่เป็นเรื่องที่ปรับปรุงได้ง่าย สามารถปฏิบัติงานได้และเสียค่าใช้จ่ายน้อยหรือไม่มีค่าใช้จ่ายก่อน ในการทำกิจกรรมในการปรับปรุงควรจะดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาที่ต้นตอหรือสาเหตุ เพื่อขจัดการเกิดซ้ำของปัญหา และควรต้องมีการสร้างมาตรฐานให้ชัดเจนหลังจากมีการปรับปรุงหรือแก้ปัญหานั้นแล้วด้วย ก่อนที่จะปรับปรุงควรจะมีการถ่ายภาพสถานที่ก่อนปรับปรุง และถ่ายภาพหลังปรับปรุง เพื่อให้สามารถมองเห็นสภาพของการปรับปรุงได้อย่างชัดเจน และควรมีการเก็บข้อมูลในเชิงปริมาณเพื่อทำการเปรียบเทียบผลของการปรับปรุงได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณผลผลิตที่ได้ คุณภาพที่ดีขึ้นของผลิตภัณฑ์ ความสามารถในการผลิตต่อคน หรือต่อเครื่องจักร จำนวนของเสียลดลง ปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลง จำนวนพนักงานที่ประสบอันตรายลดลง เป็นต้น ภาพถ่ายและข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมการปรับปรุงที่ได้ดำเนินการและทำให้พนักงานรับรู้และมีส่วนร่วมในกิจกรรมมากยิ่งขึ้น
....ติดตามอ่านได้ในบทความถัดไป....