วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2557

การประเมินความล้า



          การทำงานไม่ว่าจะเป็นในโรงงานอุตสาหกรรมในสำนักงาน ในโรงเรียน ในโรงพยาบาล ในร้านอาหาร หรือ ในสถานประกอบการใดๆ หรือในตำแหน่งงานใดๆมักจะพบว่า พนักงานมักจะเกิดความล้าในการปฏิบัติงานไม่มากก็น้อย ความล้าที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นความล้าทางร่างกาย คือ การปวดเมื่อยส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งก็อาจจะจัดการโดยการพักผ่อนให้เพียงพอ จัดเวลาการทำงานให้เหมาะสม จัดสถานที่ทำงานให้เหมาะสม จัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม ก็จะทำให้ความล้าต่างๆเบาบางหรือหมดสิ้นไปได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมก็อาจจะนำไปสู่การปวดเมื่อยร่างกายอย่างเรื้อรัง และจะทำให้เกิดปัญหาที่มีความรุนแรงมากขึ้น เช่นการเกิดอุบัติเหตุ การขาดสมรรถภาพในการทำงาน ซึ่งจะทำให้เกิดการขาดงาน การเจ็บป่วย และนำไปสู่การลาออกจากงานในที่สุด นอกจากความล้าที่เกิดขึ้นทางร่างกายแล้วยังพบว่า มีความล้าทางด้านสภาพจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งพบว่าความวิตกกังวลกับงาน ความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุขณะทำงานได้โดยเฉพาะงานที่ต้องอาศัยกำลังกายและการเคลื่อนไหว (วงศ์อนุตรโรจน์, 2553) ดังนั้นในองค์กรหรือสถานประกอบการควรมีการประเมินความล้าของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น
....ติดตามอ่านต่อในบทความถัดไป....