วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557

การตรวจประเมินโดยใช้แบบประเมินอย่างง่าย



2. อุปกรณ์
        - รองเท้าที่ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่ควรต้องเหมาะสมกับลักษณะงานและสถานที่ รองเท้าควรสามารถป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานได้ รองเท้าควรจะไม่ชำรุดเสียหาย โดยเฉพาะพื้นรองเท้าควรอยู่ในสภาพดีไม่สึกหรอ

        - อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ควรจัดให้กับพนักงานได้ใช้งานตามความเหมาะสมของงาน ไม่ชำรุด และมีขนาดเหมาะสมกับผู้ใช้ วัสดุที่ใช้ทำอุปกรณ์จะต้องเป็นวัสดุที่เหมาะสมที่สามารถป้องกันอันตรายได้ ผู้ปฏิบัติงานมีการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามความจำเป็นของการทำงานในสถานที่นั้นๆ

        - เครื่องมืออุปกรณ์ที่ต้องมีด้ามจับ ลักษณะของด้านจับควรจะไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไปสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ด้ามจับควรจะอยู่ในสภาพดี ไม่ชำรุด ทำจากวัสดุที่ไม่ลื่น หรือใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสม ด้ามจับควรห่อหุ้มด้วยวัสดุที่จับได้มั่นคงและไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า

        - เครื่องมืออุปกรณ์ที่ผู้ปฏิบัติงานใช้งานไม่ควรหนักเกิน 4 กก. เครื่องมือไม่ควรมีการสั่นสะเทือนมากเกินไป เครื่องมือไม่ควรดีดกลับใส่มือผู้ใช้เครื่องมือนั้น อุณหภูมิของเครื่องไม่ควรร้อนหรือเย็นเกินไป เครื่องมือสามารถใช้งานได้โดยมือข้างใดข้างหนึ่ง และเครื่องมือควรจะออกแบบมาโดยไม่ให้ผู้ใช้งดหรือบิดข้อมือเมื่อใช้งาน

        - ปุ่มควบคุมหรือปุ่มบังคับ ควรจะอยู่ในระยะที่เหมาะสม และได้รับการออกแบบมาอย่างเหมาะสมต่อการใช้งาน มีรูปแบบที่เหมาะสม ไม่ควรมีขนาดใหญ่หรือเล็กจนเกินไป ไม่ชำรุด ลักษณะการบังคับหรือควบคุมควรออกแบบให้ผู้ใช้ไม่ออกแรงมากเกินไป

วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557

การตรวจประเมินโดยใช้แบบประเมินอย่างง่าย



1. สถานีงาน
        - ควรมีช่องว่างที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานทั้งการขยับตัว การเอื้อมหยิบสิ่งของ การเข้าออกจุดปฏิบัติงาน ตำแหน่งที่ผู้ปฏิบัติงานนั่งหรือยืนควรสามารถมองเห็นทุกส่วนบริเวณงานได้

        - ระดับความสูงของโต๊ะควรจะอยู่ในระดับที่ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้โดยสะดวกและสามารถปรับระดับให้เหมาะสมกับสรีระของผู้ปฏิบัติงาน พร้อมทั้งมีที่พักเท้าใต้โต๊ะหรือตำแหน่งที่เหมาะสมในสถานีงานนั้น

        - ระดับความสูงของเก้าอี้ควรอยู่ในระดับที่ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้โดยสะดวก อาจจะเป็นเก้าอี้นั่งหรือเก้าอี้กึ่งนั่งกึ่งยืนก็ได้ เก้าอี้ควรจะมีลักษณะที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน และสามารถปรับความสูงได้ง่าย ควรมีที่พักแขนที่เก้าอี้หรือตำแหน่งที่เหมาะสมในสถานีงานนั้น

        - พื้นทำงานควรเรียบและปราศจากสิ่งของวางเกะกะขวางทางพื้นทำงานไม่ควรลื่น และไม่สั่นสะเทือน

        - อุณหภูมิในห้องทำงานควรอยู่ในระดับที่เหมาะสมและทำให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้มีประสิทธิภาพและไม่เกิดความล้าหรือโรคจากสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม อุณหภูมิในห้องทำงานไม่ควรสูงหรือต่ำเกินไป

        -แสงสว่างในห้องทำงาน ควรมีความสว่างเพียงพอและไม่ควรมีแสงสะท้อนเข้าตาผู้ปฏิบัติงาน หรือมีแสงจ้าจนเกินไป

        - สถานที่ปฏิบัติงานไม่ควรมีเสียงดังรบกวนหรือดังมากเกินไปจนทำให้มีอุปสรรคต่อการสื่อสาร หรือทำให้สูญเสียการได้ยิน

        - ระบบการระบายอากาศในห้องปฏิบัติควรมีการไหลเวียนอากาศอย่างเพียงพอมีการไหลเวียนอากาศใหม่เข้ามาบ้าง
....ติดตามอ่านได้ในบทความถัดไป....

วันจันทร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2557

การตรวจประเมินโดยใช้แบบประเมินอย่างง่าย


        แบบประเมินอย่างง่ายออกแบบโดยการประยุกต์จากจุดหรือประเด็นที่ตรวจสอบในแบบตรวจประเมินหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น แบบประเมิน WISE Checklists แบบประเมิน Ergonomic Checkpoints แบบสำรวจเพื่อชี้บ่งอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการรับภาระงานของกล้ามเนื้อ (ISO/TS 20646-1: Annex B – Checklist for hazard identification concerning local muscular workload) แบบสำรวจเพื่อการปรับปรุงสภาพการทำงาน (ISO/TS 20646-1: Annex C – Action – oriented checklist) เป็นต้น แบบประเมินอย่างง่ายจะใช้สำหรับการสำรวจเพื่อบ่งชี้อันตรายของสถานีงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน ลักษณะงานและท่าทางในการทำงานของพนักงาน
....ติดตามอ่านได้ในบทความถัดไป....

วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557

การตรวจประเมินโดยใช้แบบประเมิน ISO



การประเมินโดยการใช้มาตรฐาน ISO/TS 20646-1 เป็นการดำเนินการแบบมีส่วนร่วม (Participation Approach) ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและอาชีวอนามัยขององค์กรและผู้ที่รับผิดชอบหรือปฏิบัติงานในพื้นที่ที่จะทำการประเมินเพื่อการปรับปรุงงาน (กรุงไกรวงศ์ & กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, 2551) ขั้นตอนในการดำเนินงาน โดยใช้มาตรฐาน ISO/TS20646-1

ขั้นตอนในการดำเนินงานโดยใช้มาตรฐาน ISO/TS 20646-1
ขั้นตอน
รายละเอียด
เอกสาร
ขั้นตอนที่ 1:
ชี้แจงและเลือกพื้นที่
-วางแผนและกำหนดขอบเขตของการวิเคราะห์งาน
-อาจเลือกพื้นที่/หน่วยงานต้นแบบก่อนแล้วค่อยขยายผล
แผนการดำเนินงาน
(ในรูป Gantt Chart)
ขั้นตอนที่ 2:
แนะนำรายละเอียด
-อธิบายหลักการวิเคราะห์งานโดยใช้มาตรฐาน ISO/TS 20646-1
-นำเสนอภาพตัวอย่างในการดำเนินงาน

ขั้นตอนที่ 3:
ชี้บ่งอันตราย
-สำรวจเพื่อชี้บ่งอันตรายที่เกี่ยวข้องกับภาระงานของกล้ามเนื้อโดยให้สมาชิกทุกคนประเมินด้วยตนเองในพื้นที่/หน่วยงานต้นแบบที่เลือก
หลังจากที่ทุกคนสำรวจเสร็จ ให้ประชุมระดมสมองเพื่อสรุปผลประเมินที่ได้ให้อภิปรายจากสภาพที่พบจริงและพิจารณาด้วยเหตุผล ห้ามใช้วิธีการโหวตเสียงข้างมาก
แบบสำรวจ Annex B
ขั้นตอนที่ 4:
สำรวจสภาพการทำงาน
-วิเคราะห์แบบสำรวจโดยหัวข้อในแบบสำรวจอาจมีการปรับให้เหมาะสมกับหน่วยงานที่จะวิเคราะห์โดยอาจจะตัดข้อที่ไม่เกี่ยวข้องออกและเพิ่มหัวข้อใหม่เข้าไปก็ได้โดยให้สมาชิกวิเคราะห์ร่วมกัน
-สำรวจสภาพการทำงานของพื้นที่/หน่วยงานต้นแบบที่เลือกโดยให้สมาชิกทุกคนประเมินด้วยตนเอง เมื่อพบแนวปฏิบัติที่ดีควรต้องมีการบันทึกด้วย
-หลังจากนั้นให้ประชุมร่วมกันเพื่อสรุปสภาพการทำงานที่ดีและหัวข้อที่ควรปรับปรุง แล้วเรียงลำดับความสำคัญของหัวข้อที่ควรปรับปรุง
แบบสำรวจ Annex C
ขั้นตอนที่ 5:
ทำแผนการดำเนินงาน
-นำผลที่ได้จากขั้นตอนที่ 3 และ 4 มาสรุปเพื่อจัดทำแผนดำเนินการเพื่อการปรับปรุง (ควรระบุกิจกรรมผู้รับผิดชอบ งบประมาณและกรอบเวลา)
-นำเสนอแผนต่อผู้บริหารเพื่อให้ความเห็นชอบและอนุมัติก่อนการดำเนินการ
แผนการปรับปรุง
(ในรูป Gantt Chart)
ขั้นตอนที่ 6:
ดำเนินการปรับปรุง
-ดำเนินการตามแผนการปรับปรุง
แผนการปรับปรุง
ขั้นตอนที่ 7:
ประเมินผลหลังปรับปรุง
-ประเมินผลโดยเปรียบเทียบสภาพการทำงานก่อนและหลังการปรับปรุง
-สอบถามความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ โดยใช้แบบสอบถามเพื่อสำรวจภาระงานของกล้ามเนื้อ (อาจจะสอบถามก่อนปรับปรุงแล้วสอบถามหลังปรับปรุงอีกครั้งโดยสอบถามพนักงานกลุ่มเดียวกัน
แบบสอบถาม
 Annex D
ขั้นตอนที่ 8:
ขยายผล
-สรุปและประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานให้บุคลากรในองค์กรรับทราบ
-ขยายผลไปยังพื้นที่/หน่วยงานอื่นๆในองค์กร