วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2557

ขั้นตอนในการประเมินเพื่อการปรับปรุง(ต่อ 1)



ขั้นตอนที่ 1 : การเตรียมความพร้อม

        ในขั้นตอนของการเตรียมความพร้อมจะเป็นการทำความเข้าใจกับผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติการ และผู้ที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการประเมินและการปรับปรุง ผู้ประเมินจะต้องศึกษาหาความรู้และทำความเข้าใจกับหลักการทางการยศาสตร์และศึกษาวิธีการในการประเมินรวมถึงเทคนิคและอุปกรณ์เครื่องมือวัดที่จำเป็นต้องใช้ในการประเมินด้วย

ขั้นตอนที่ 2 : การสำรวจและวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้น

        ในขั้นตอนนี้จะทำการสำรวจปัญหาด้านการยศาสตร์จากการเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น เช่น การเดินสำรวจสถานที่ทำงานและทำตามเข้าใจกับลักษณะงาน การประชุมร่วมกับผู้ที่รับผิดชอบ หรือเกี่ยวข้องกับการดูแลอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน ได้แก่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย คณะกรรมการความปลอดภัย เป็นต้น เพื่อฟังปัญหาที่พบเห็น นอกจากนั้นยังต้องมีการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการประสบอันตรายจากการทำงาน ปัญหาปวดเมื่อยหรือเจ็บป่วยเรื้อรัง ปัญหาการขาดงานและการลาออกของพนักงาน ปัญหาการร้องเรียนของพนักงานที่เกี่ยวข้องกับสภาพการทำงาน เป็นต้น ข้อมูลเชิงมหภาพ (Macro ergonomics) ที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อบ่งชี้ปัญหาและความเสี่ยงด้านการยศาสตร์สามารถสรุปได้ 4 ด้านดังนี้

        (1) บันทึกด้านความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงาน ได้แก่ ความรู้สึกไม่สบายของผู้ปฏิบัติงาน ความถี่ในการพบแพทย์ ข้อร้องเรียนของพนักงาน ความถี่ในการเกิดอุบัติเหตุ ข้อมูลสุขภาพที่ต่อเนื่อง เป็นต้น

        (2) บันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ การขาดงาน การลาออก การขอเปลี่ยนงาน ความพึงพอใจในการทำงาน เป็นต้น
        (3) ข้อมูลทางการเงิน ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยต่อการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย ค่าใช้จ่ายในการขาดงาน ค่าใช้จ่ายในการคัดเลือกพนักงานใหม่ เป็นต้น

(4) ข้อมูลในการผลิต ได้แก่ จำนวนผลผลิตที่ได้ อัตราคุณภาพของสินค้า จำนวนความผิดพลาดที่เกินขึ้น เป็นต้น