วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

WISE Checklist หมวด 2.รายงานตรวจประเมินการออกแบบสถานีงาน (work station design)



รายงานตรวจประเมินด้านการออกแบบสถานีงาน
รายการ
แนวทางในการประเมิน
6. ควรติดตั้งสวิตช์ เครื่องมือ ปุ่มควบคุม และวัสดุต่างๆให้อยู่ในระยะที่หยิบจับง่ายและสะดวก
เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆควรจัดวางโดยไม่ให้มีการเอื้อมหรือยกมือออกจากตัวผู้ปฏิบัติงานมากเกินไป ระยะที่เหมาะสมควรไม่สูงเกินไหล่ และไม่ต่ำเกินเข่า
7. ควรใช้อุปกรณ์ช่วยยก คานงัดหรือกลไกอื่นๆเพื่อช่วยให้การออกแรงของพนักงานลดลง
กรณีที่สิ่งของหรือชิ้นงานมีน้ำหนักมากควรมีอุปกรณ์ช่วยที่ไม่ทำให้พนักงานออกแรงมากเกินไป
8. ควรจัดให้มีพื้นที่หน้างานที่มั่นคงแข็งแรง สำหรับสถานที่ทำงานทุกแห่ง
พื้นโต๊ะปฏิบัติงานควรมีพื้นผิวที่เรียบสามารถมองเห็นชิ้นงาน และอุปกรณ์ได้ง่าย ไม่มีการสะท้อนของแสง
9. ควรใช้จิ๊ก ปากกาจับชิ้นงาน หรืออุปกรณ์อื่นๆเพื่อยึดจับชิ้นงานขณะทำงาน
กรณีที่ต้องมีการจับยึดชิ้นงานควรมีอุปกรณ์ช่วยเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานไม่ต้องออกแรงจับยึดหรือเกรงร่างกาย
10. ควรปรับระดับความสูงของอุปกรณ์ ปุ่มควบคุมงานพื้นที่หน้างานต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องอยู่ในท่างอตัว โก้งโค้ง หรือยกแขนสูง
ในการทำงานกับอุปกรณ์หรือเครื่องจักร ลักษณะท่าทางของผู้ปฏิบัติงานควรอยู่ในลักษณะตรงไม่มีทางทางที่ผิดธรรมชาติ เช่น งอตัว เอี้ยวตัว โก้งโค้ง หรือยกแขนสูง
11. ควรเปลี่ยนวิธีการทำงาน เพื่อให้พนักงานสามารถยืนหรือนั่งสลับกันในขณะทำงานได้
อาจมีการใช้เก้าอี้กึ่งนั่งกึ่งยืน หรือปรับสถานีงาน หรือขั้นตอนการทำงานในสลับท่าทางได้
12. ควรจัดให้มีเก้าอี้ ม้านั่งที่มีความสูงพอเหมาะและมีพนักงานพิงที่แข็งแรง
เก้าอี้ปรับความสูงได้ พนักงานสามารถนั่งในท่าทางที่ถูกต้อง เก้าอี้ไม่ชำรุดเสียหาย

วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557

WISE Checklist หมวด 2.การออกแบบสถานีงาน (work station design)


        ในการทำงานในภาคอุตสาหกรรม พนักงานในระดับปฏิบัติการมักจะทำงานในลักษณะที่ซ้ำไปซ้ำมาตลอดเวลา ดังนั้นการใช้ร่างกายของผู้ปฏิบัติงานมักจะเกิดอาการเมื่อยตัวหรือปวดเมื่อยบริเวณกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกายได้ ถ้าทำงานอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม เช่น การบิดเอี้ยวตัว การเอื้อมมือ การก้มตัว การเขย่ง เป็นต้น ท่าทางเหล่านี้มักจะเกิดจากการที่มีขนาดของสถานีงานไม่เหมาะสม ไม่มีอุปกรณ์ หรือเครื่องมือที่ช่วยลดการออกแรงของพนักงาน รายการในการตรวจประเมินด้านการออกแบบสถานีงานประกอบด้วย 7 ข้อย่อย
....ติดตามอ่านได้ในบทความถัดไป....

วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557

WISE Checklist หมวด 1.รายการตรวจประเมินการจัดเก็บและขนย้ายสิ่งของ



รายการตรวจประเมินการจัดเก็บและขนย้ายสิ่งของ
รายการ
แนวทางประเมิน
1. ควรนำของทุกอย่างที่ไม่ได้ใช้ประจำ ออกจากบริเวณที่ทำงาน
การพิจารณาความจำเป็นในการจัดเก็บในบริเวณที่ทำงานจะขึ้นกับความถี่ในการใช้สั่งของนั้นๆ
2. ควรจัดให้มีชั้นวางของที่สะดวกและเพียงพอ สำหรับเก็บเครื่องมือ วัตถุดิบ ชิ้นส่วนต่างๆ และผลผลิต
ลักษณะการจัดวาง ควรอยู่ในระดับที่เหมาะสม และสะดวกต่อการหยิบใช้งาน และมีการบ่งชี้อย่างเหมาะสม
3. ควรใช้แผ่นรองสิ่งของ (พาเลท) ที่ออกแบบเป็นพิเศษสำหรับวางและขนย้ายวัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จรูปและผลผลิตต่างๆ
ลักษณะพาเลทที่ใช้ควรเหมาะสมกับสิ่งของที่จัดเก็บ และอยู่ในสภาพดี
4. ควรติดล้อที่ตู้เก็บของ กระบะ โต๊ะปฏิบัติงาน และอื่นๆที่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายบ่อยๆ
ลักษณะของล้อ และรูปแบบของล้อเหมาะสมกับอุปกรณ์ และต้องมีระบบที่แน่ใจว่าไม่เกิดการลื่นไถล
5. ควรใช้รถเข็น กระบะที่เคลื่อนที่ได้ ปั้นจั่น รางส่งของหรือกลไกอื่นๆ เพื่อช่วยขนย้ายของหนัก
สภาพของอุปกรณ์ที่ใช้อยู่ในสภาพดีมีการดูแลอย่างเหมาะสม และเพียงพอ

วันพุธที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2557

WISE Checklist หมวด 1. การจัดเก็บและขนย้ายวัสดุสิ่งของ (Materials storage and handling)



1. การจัดเก็บและขนย้ายวัสดุสิ่งของ (Materials storage and handling)
        ในการจัดเก็บและขนย้ายวัสดุสิ่งของถือว่าเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนของการรับวัตถุดิบ การขนย้ายในระหว่างการผลิตไปจนกระทั่งถึงการจัดเก็บเพื่อรอการส่งมอบ ถ้าดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพก็จะทำให้เกิดความรวดเร็วในการผลิตและทำให้ลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุต่อผู้ปฏิบัติงานด้วย การออกแบบวิธีการจัดเก็บ สถานที่จัดเก็บ และวิธีการเคลื่อนย้ายที่ไม่เหมาะสม นอกเหนือจากจะเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน และผลิตภัณฑ์แล้ว ยังทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูงตามไปด้วย เช่น ค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บ ค่าใช้จ่ายในการจัดหาพื้นที่ในการจัดเก็บ ค่าใช้จ่ายในการรักษาสภาพแวดล้อมในการจัดเก็บ ค่าใช้จ่ายจากการสูญเสีย เมื่อสินค้าชำรุดหรือเสื่อมสภาพ ลักษณะการจัดเก็บและการขนย้ายวัสดุสิ่งของที่เหมาะสมได้แก่ ลักษณะของทางเดินควรมีขนาดกว้างเพียงพอ ควรมีการใช้อุปกรณ์ในการเคลื่อนย้าย เป็นต้น รายการในการตรวจประเมินของการจัดเก็บและขนย้ายสิ่งของประกอบด้วย 5 ข้อย่อย
....ติดตามอ่านได้ในบทความถัดไป....

วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557

การตรวจประเมินโดยใช้ WISE checklist


        แบบตรวจประเมิน WISE checklist ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน คือ J.E. Thurman, A.E.Louzine และ K.Kogi ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization, ILO) แบบตรวจประเมิน WISE อยู่ในเอกสารคู่มือ “Higher Productivity and A Better Place to work – Practical ideas for owners and managers of small and medium – sized industrial enterprises” คู่มือนี้อธิบายแนวทางในการปรับปรุงสภาพและสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงานไว้อย่างง่ายๆ โดยในแบบตรวจประเมินไม่เพียงแต่จะช่วยตรวจประเมินเพื่อค้นปัญหาและวิเคราะห์งานด้านการยศาสตร์เท่านั้นแต่ยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการปรับปรุงสภาพและสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงานได้ด้วย
แบบประเมินนี้แบ่งออกเป็น 8 ด้านหลักๆ
download file : แบบประเมิน WISE checklist
....ติดตามอ่านได้ในบทความถัดไป....