วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การประเมินความเสี่ยงโดยวิธี RULA

การประเมินด้วยวิธี RULA (Rapid Upper Limp Assessment) เป็นวิธีการที่พัฒนาขึ้นโดย Lynn McAtamney และ Nigel Corlett ใน ปี ค.ศ. 1993 เพื่อใช้ประเมินท่าทางการทำงานในท่านั่ง หรือมุ่งเน้นการประเมินท่าทางการเคลื่อนไหวของร่างกายส่วนบน ตัวอย่างของการประเมินด้วยวิธีนี้ได้แก่ การนำมาใช้ในการประเมินท่าทางการทำงานของพนักงานทอผ้า พนักงานเย็บผ้า พนักงานขับรถ เป็นต้น ซึ่งพบว่า สามารถใช้ในการชี้บ่งระดับความเสี่ยงหรือระดับอันตรายของการทำงานของพนักงานได้เป็นอย่างดี การประเมินนี้แบ่งการประเมินเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่ม A ประกอบด้วย การประเมินส่วนแขนและข้อมือ และกลุ่ม B ประกอบด้วยการประเมินในส่วน คอ ลำตัว และขา มีแบบฟอร์มในการประเมินดังแสดงในภาคผนวก โดยการประเมินจะแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การประเมินแขนส่วนบน (Upper arm)
          การประเมินแขนส่วนบนจะพิจารณาระดับของแขนตั้งแต่หัวไหล่จนถึงข้อศอก ถ้าระดับของแขนส่วนบนยกสูงขึ้นจะมีคะแนนประเมินมากขึ้น ระดับแขนที่อยู่ในแนวระดับแนวดิ่งจะมีค่าคะแนนประเมินต่ำลง นั่นคือ มีความเสี่ยงต่อการปวดเมื่อยน้อยกว่าเมื่อแขนถูกยกให้สูงขึ้น ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานมีท่าทางการยกหัวไหล่หรือไหล่กางออก ก็จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการปวดเมื่อยมากขึ้น ในทางกลับกันถ้าผู้ปฏิบัติงานสามารถพาดแขนหรือวางแขนไว้กับอุปกรณ์ หรือส่วนต่างๆในสถานีงานได้ก็จะทำให้มีความเสี่ยงในการปวดเมื่อยน้อยลง รายละเอียดคะแนนการประเมินในส่วนแขนส่วนบน แสดงดังตาราง และรูปด้านล่าง ในการประเมินจะพิจารณาส่วนของคะแนนหลักก่อน แล้วจึงพิจารณาปรับเพิ่ม/ลด จากท่าทางที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น มีการยกหัวไหล่ (ปรับเพิ่ม 1 คะแนน) หัวไหล่กางออก (ปรับเพิ่ม 1 คะแนน) มีที่วางแขน (ลบ 1 คะแนน) ดังนั้นคะแนนของส่วนนี้จะมีค่าสูงสุดไม่เกิน 6 คะแนน

ตารางแสดงคะแนนการประเมินแขนส่วนบนในวิธี RULA
ส่วน
คะแนน
ท่าทาง
คะแนนหลัก
1
แขนอยู่ในตำแหน่งไปข้างหน้า-หลังไม่เกิน 20
2
แขนอยู่ด้านหลัง เกิน 20
2
แขนอยู่ด้านหน้า 20-45
3
แขนอยู่ด้านหน้า 45-90
4
แขนอยู่ในตำแหน่งเหนือไหล่ (มีมุมเกิน 90 เมื่อเทียบกับลำตัว)
คะแนนปรับเพิ่ม
+1
มีการยกหัวไหล่
+1
หัวไหล่กางออก
-1
ถ้ามีที่วางแขน หรือสามารถพาดแขนได้



รูปแสดงลักษณะการประเมินแขนส่วนบนในวิธี RULA
ที่มา : (McAtamney & Corlett, 1993)

ขั้นตอนที่ 2 การประเมินแขนส่วนล่าง (Lower arm หรือ forearm)
          การประเมินแขนส่วนล่างจะเป็นการประเมินลักษณะของแขนตั้งแต่ข้อศอกไปจนถึงข้อมือ โดยจะพิจารณามุมของแขนส่วนล่างว่า อยู่ในแนวใดเมื่อเทียบกับแกนแนวดิ่ง ตำแหน่งของแขนที่ทำมุมกับแกนแนวดิ่งมากก็จะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น นอกจากนั้น ถ้าผู้ปฏิบัติงานมีการทำงานไขว้แขนเลยแกนกลางของลำตัว หรือทำงานในลักษณะกางแขนออกไปด้านข้างของลำตัว จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการปวดเมื่อยมากขึ้นจึงทำให้ค่าคะแนนมีการปรับเพิ่มขึ้น +1 คะแนนด้วย รายละเอียดของคะแนนการประเมินแขนส่วนล่างแสดงดังตารางและรูป ค่าคะแนนสูงสุดในขั้นตอนนี้มีค่าไม่เกิน 3 คะแนน

ตารางแสดงคะแนนการประเมินแขนส่วนล่างในวิธี RULA
ส่วน
คะแนน
ท่าทาง
คะแนนหลัก
1
แขนส่วนล่างอยู่ในระดับที่มีมุมระหว่าง 60-100 เมื่อเทียบกับแนวดิ่ง
2
แขนส่วนล่างตกลงมาด้านล่างโดยมีมุมน้อยกว่า 60 หรือแขนอยู่ในตำแหน่งยกขึ้นด้านบนทำมุมมากกว่า 100 เมื่อเทียบกับแนวดิ่ง
คะแนนปรับเพิ่ม
+1
แขนไขว้เลยแกนกลางของลำตัว หรือแขนกางออกไปด้านข้างของลำตัว


รูปแสดงลักษณะการประเมินแขนส่วนล่างในวิธี RULA
ที่มา : (McAtamney & Corlett, 1993)

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินข้อมือ (Wrist)
          การประเมินลักษณะของข้อมือให้สังเกตแนวระหว่างกระดูกฝ่ามือกับกระดูกแขนส่วนล่าง ลักษณะท่าทางของข้อมือที่เหมาะสม จะต้องอยู่ในแนวเดียวกันกับแนวแขนส่วนล่าง และไม่เบี่ยงไปทางซ้าย หรือขวา ถ้ามีการงอของข้อมือจะทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการปวดเมื่อยได้ รายละเอียดการประเมินท่าทางของข้อมือแสดงดังตารางและรูป คะแนนสูงสุดในขั้นตอนนี้มีค่าไม่เกิน 4 คะแนน

ตารางแสดงคะแนนการประเมินข้อมือในวิธี RULA
ส่วน
คะแนน
ท่าทาง
คะแนนหลัก
1
ตำแหน่งของข้อมือ (แนวกระดูกฝ่ามือ) อยู่ในแนวเดียวกับแขนส่วนล่าง
2
ตำแหน่งของข้อมือ (แนวกระดูกฝ่ามือ) ทำมุมขึ้นหรือลงไม่เกิน 15เมื่อเทียบกับแนวแขนส่วนล่าง
3
ตำแหน่งของข้อมือ (แนวกระดูกฝ่ามือ) ทำมุมขึ้นหรือลงมากกว่า 15 เมื่อเทียบกับแนวแขนส่วนล่าง
คะแนนปรับเพิ่ม
+1
มีการเอียงข้อมือเบี่ยงไปด้านข้าง (ซ้าย–ขวา)


รูปแสดงลักษณะการประเมินข้อมือในวิธี RULA
ที่มา : (McAtamney & Corlett, 1993)

ขั้นตอนที่ 4 การประเมินการหมุนของข้อมือ (Wrist twist)
          การใช้งานข้อมือของผู้ปฏิบัติงานไม่ควรจะมีการหมุนข้อมือมากขึ้นเกินไป ผู้ปฏิบัติงานที่ต้องทำงานที่มีลักษณะการหมุนของข้อมือมากจนเกือบสุดจะทำให้ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการปวดเมื่อยได้สูงขึ้น รายละเอียดคะแนนของการประเมินการหมุนของข้อมือ แสดงในตารางโดยคะแนนสูงสุดในขั้นตอนนี้มีค่าไม่เกิน 2 คะแนน

ตารางแสดงคะแนนการประเมินการหมุนของข้อมือ
ส่วน
คะแนน
ท่าทาง
คะแนนหลัก
1
ไม่มีการบิดหรือหมุนข้อมือ หรือหมุนบิดข้อมือเล็กน้อยไม่เกินครึ่ง
2
มีการหมุนบิดของข้อมือตั้งแต่ครึ่งถึงเกือบสุด
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินคะแนนกลุ่ม A
          นำคะแนนที่ได้จากขั้นตอนที่ 1-4 มาอ่านค่าในตารางการประเมินคะแนนกลุ่ม A ดังตาราง เช่น ถ้าคะแนนแขนส่วนบนได้ 4 คะแนนแขนส่วนล่างได้ 3 คะแนนการประเมินข้อมือได้ 2 คะแนนการหมุนของข้อมือได้ 2 จะอ่านค่าคะแนนกลุ่ม A (Score A) จากตารางด้านล่าง ได้ 5 เป็นต้น
  
ตารางแสดงคะแนนประเมินกลุ่ม A
แขน
ส่วนบน
แขน
ส่วนล่าง
คะแนนท่าทางของมือ และข้อมือ
1
2
3
4
การบิดของข้อมือ
การบิดของข้อมือ
การบิดของข้อมือ
การบิดของข้อมือ
1
2
1
2
1
2
1
2
1
1
1
2
2
2
2
3
3
3
2
2
2
2
2
3
3
3
3
3
2
3
3
3
3
3
4
4
2
1
2
3
3
3
3
4
4
4
2
3
3
3
3
3
4
4
4
3
3
4
4
4
4
4
5
5
3
1
3
3
4
4
4
4
5
5
2
3
4
4
4
4
4
5
5
3
4
4
4
4
4
5
5
5
4
1
4
4
4
4
4
5
5
5
2
4
4
4
4
4
5
5
5
3
4
4
4
5
5
5
6
6
5
1
5
5
5
5
5
6
6
7
2
5
6
6
6
6
6
7
7
3
6
6
7
7
7
7
7
8
6
1
7
7
7
7
7
8
8
9
2
8
8
8
8
8
9
9
9
3
9
9
9
9
9
9
9
9























ที่มา : (McAtamney & Corlett, 1993)

ขั้นตอนที่ 6 การประเมินการใช้กล้ามเนื้อแขนหรือมือในการทำงาน
          ลักษณะการใช้กล้ามเนื้อในการทำงานที่จะมีความเสี่ยงต่อการปวดเมื่อย อาจจะเป็นการใช้แรงจากกล้ามเนื้อแบบสถิต คือ มีการใช้แรงโดยเกร็งกล้ามเนื้อต่อเนื่อง นานกว่า 1 นาที หรือมีการทำงานเป็นแบบซ้ำๆ โดยมีการเคลื่อนไหวกลับไป กลับมา ตั้งแต่ 4 ครั้งต่อนาที ขึ้นไป รายละเอียดคะแนนการประเมินการใช้กล้ามเนื้อในการทำงานแสดงดังตาราง กรณีที่ลักษณะการใช้แรงไม่อยู่ในภาวะเสี่ยงตามที่ระบุในตาราง จะทำให้คะแนนการประเมินเป็นศูนย์ ส่วนคะแนนสูงสุดในขั้นตอนนี้จะมีค่าเพียง 1 เท่านั้น
  
ตารางแสดงคะแนนการประเมินการใช้กล้ามเนื้อแขนหรือมือในวิธี RULA
ส่วน
คะแนน
ท่าทาง
คะแนนหลัก
1
แขนหรือมือใช้แรงอยู่นิ่งนานเกิน 1 นาที
1
แขนหรือมือมีการเคลื่อนไหวซ้ำไปมาตั้งแต่ 4 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป

ขั้นตอนที่ 7 การประเมินแรงหรือภาระงานในส่วนแขนหรือมือ
          การประเมินแรงที่ใช้หรือภาระงานที่กล้ามเนื้อต้องรับภาระสามารถประเมินได้จากน้ำหนักของวัตถุที่ถือ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานที่รับภาระงานที่มากจะมีผลต่อการปวดเมื่อยมากยิ่งขึ้น รายละเอียดการประเมินแรงหรือภาระงานมีรายละเอียดดังตาราง โดยคะแนนสูงสุดในขั้นตอนนี้คือ 3 คะแนน

ตารางแสดง คะแนนประเมินการใช้แรงหรือภาระงานในวิธี RULA
ส่วน
คะแนน
ท่าทาง
คะแนนหลัก
0
แรงที่ใช้หรือน้ำหนักที่ถือน้อยกว่า 2 กก. (ทำงานไม่ต่อเนื่อง)
1
แรงที่ใช้หรือน้ำหนักที่ถืออยู่ระหว่าง 2–10 กก. (ทำงานไม่ต่อเนื่อง)
2
แรงที่ใช้หรือน้ำหนักที่ถืออยู่ระหว่าง 2–10 กก. โดยมีการใช้แรงหรือจับถือน้ำหนักอยู่ตลอดเวลา หรือมีการออกแรงซ้ำไปมาบ่อยๆ
3
แรงที่ใช้หรือน้ำหนักที่ถือ มากกว่า 10 กก. ไม่ว่าจะเป็นการใช้แรงแบบสถิตหรือเคลื่อนที่ซ้ำไปมาบ่อยๆ หรือมีการใช้แรงแบบกระแทกเป็นครั้งคราว

ขั้นตอนที่ 8 การสรุปคะแนนรวมของส่วนแขนและข้อมือ
          การสรุปคะแนนรวมของส่วนแขนและข้อมือจะเป็นการนำคะแนนประเมินของกลุ่ม A (Score A) ที่ได้จากขั้นตอนที่ 5 มารวมกับคะแนนการใช้กล้ามเนื้อ (ขั้นตอนที่ 6) และคะแนนการใช้แรงและภาระงาน (ขั้นตอนที่ 7) โดยคะแนนที่ได้จะนำไปใช้ในการเปิดตารางสุดท้ายในขั้นตอนที่ 16 ต่อไป

ขั้นตอนที่ 9 การประเมินส่วนคอ
          การประเมินในส่วนของกลุ่ม B ประกอบด้วยการประเมินส่วนคอ ลำตัว และขา โดยในขั้นตอนนี้จะเป็นการประเมินในส่วนคอ ว่าผู้ปฏิบัติงานมีท่าทางของคอเหมาะสมหรือไม่ ลักษณะของศีรษะและคอที่เหมาะสมจะต้องอยู่ในลักษณะศีรษะตรงหรือก้มไปข้างหน้าเล็กน้อย ถ้าผู้ปฏิบัติงานมีการก้มมากเกินไป หรือมีการเงยศีรษะจะทำให้อยู่ในท่าทางที่มีความเสี่ยงต่อการปวดเมื่อยได้ รายละเอียดของการประเมินท่าทางของศีรษะและคอ แสดงดังตาราง และรูป โดยคะแนนในการประเมินส่วนนี้อาจจะมีการปรับเพิ่มในกรณีที่มีการหมุนคอหรือมีการเอียงคอด้วย ซึ่งคะแนนสูงสุดในขั้นตอนนี้จะมีค่าไม่เกิน 6 คะแนน

ตารางแสดงคะแนนประเมินส่วนคอ ในวิธี RULA
ส่วน
คะแนน
ท่าทาง
คะแนนหลัก
1
ศีรษะตรงหรือก้มไปข้างหน้าเล็กน้อย (แนวของศีรษะทำมุมกับแนวดิ่งหรือแนวแกนของคอไม่เกิน 10 )
2
ศีรษะก้มไปข้างหน้าทำมุมกับแนวดิ่งอยู่ระหว่าง 10-20
3
ศีรษะก้มไปข้างหน้า ทำมุมกับแนวดิ่ง มากกว่า 20
4
ศีรษะเงยไปด้านหลัง
คะแนนปรับเพิ่ม
+1
มีการหมุนศีรษะด้วย
+1
มีการเอียงศีรษะไปด้านข้าง


รูปแสดงการประเมินส่วนคอในวิธี RULA
ที่มา : (McAtamney & Corlett, 1993)

ขั้นตอนที่ 10 การประเมินส่วนลำตัว
          การประเมินส่วนของลำตัวจะพิจารณามุมของลำตัวเมื่อเทียบกับแนวดิ่งลักษณะของลำตัวที่เหมาะสมควรอยู่ในลักษณะตั้งตรง หรือเอนตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย ท่าทางการทำงานที่ต้องเองตัวไปจากแนวดิ่งมากเกินไปจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการปวดเมื่อยได้ และถ้ามีการหมุนตัวและเอียงตัวไปทางด้านข้างก็ยิ่งทำให้เพิ่มระดับความเสี่ยงมากขึ้นด้วยรายละเอียดการประเมินในขั้นตอนนี้แสดงดังตารางและรูป โดยมีคะแนนสูงสุดไม่เกิน 6 คะแนน
  
ตารางแสดงคะแนนประเมินในส่วนลำตัวในวิธี RULA
ส่วน
คะแนน
ท่าทาง
คะแนนหลัก
1
ลำตัวตั้งตรง
2
ลำตัวเอนไปด้านหน้า 0-20
3
ลำตัวเอนไปด้านหน้า 20-60
4
ลำตัวเอนไปด้านหน้า มากกว่า 60
คะแนนปรับเพิ่ม
+1
มีการหมุนตัว
+1
มีการเอนตัวไปด้านข้าง


รูปแสดงการประเมินในส่วนลำตัวในวิธี RULA
ที่มา : (McAtamney & Corlett, 1993)

ขั้นตอนที่ 11 การประเมินส่วนขา
          การประเมินในส่วนของขาจะพิจารณาท่าทางของขาทั้ง 2 ข้างและการมีอุปกรณ์รองรับเท้าที่เหมาะสม โดยรายละเอียดของการประเมินในส่วนนี้แสดงในตาราง ซึ่งคะแนนสูงสุดของการประเมินไม่เกิน 2 คะแนน
ตารางแสดงคะแนนประเมินส่วนขาในวิธี RULA
ส่วน
คะแนน
ท่าทาง
คะแนนหลัก
1
ขาและเท้าทั้ง 2 ข้างอยู่ในท่าทางสมดุลและมีที่รองรับอย่างเหมาะสม
2
ขาและเท้าทั้ง 2 ข้างอยู่ในท่าทางไม่เหมาะสมหรือไม่มีที่รองรับเท้า
 ขั้นตอนที่ 12 การประเมินคะแนนท่าทางกลุ่ม B
          นำคะแนนการประเมินในขั้นตอนที่ 9-11 มาเปิดตาราง B เพื่อหาคะแนนท่าทางของกลุ่ม B (score B)
ตารางการประเมินคะแนนท่าทางในกลุ่ม B ในวิธี RULA (ตาราง B)
ลำตัว
คอ
1
2
3
4
5
6
ขา
ขา
ขา
ขา
ขา
ขา
1
2
1
2
1
2
1
2
1
2
1
2
1
1
3
2
3
3
4
5
5
6
6
7
7
2
2
3
2
3
4
5
5
5
6
7
7
7
3
3
3
3
4
4
5
5
6
6
7
7
7
4
5
5
5
6
6
7
7
7
7
7
8
8
5
7
7
7
7
7
8
7
8
8
8
8
8
6
8
8
8
8
8
8
8
9
9
9
9
9
         ที่มา (McAtamney & Corlett, 1993)

ขั้นตอนที่ 13 การประเมินกล้ามเนื้อขาหรือเท้าในการทำงาน
          การประเมินการใช้แรงจากกล้ามเนื้อขาเป็นการประเมินลักษณะการใช้แรงจากกล้าเนื้อขาหรือเท้า ในการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ เช่น จักรเย็บผ้า การเหยียบคันเร่ง หรือคันเบรก ในการขับรถหรือควบคุมเครื่องจักร เป็นต้น โดยการพิจารณาว่า การออกแรงเป็นไปในลักษณะใดเป็นแบบสถิต หรือแบบพลวัติ ด้วยความถี่มากน้อยเพียงใด รายละเอียดคะแนนการประเมินการใช้แรงจากกล้ามเนื้อขาหรือเท้า แสดงดังตารางการประเมินในขั้นตอนนี้มีคะแนนสูงสุดไม่เกิน 1 คะแนน ถ้ามีการใช้แรงจากกล้ามเนื้อในสภาพปกติจะได้คะแนนประเมินในขั้นตอนนี้เป็นศูนย์

ตารางแสดงคะแนนการประเมินการใช้กล้ามเนื้อขาหรือเท้าในวิธี RULA
ส่วน
คะแนน
ท่าทาง
คะแนนหลัก
1
ขาหรือเท้าอยู่ในท่านิ่งนานเกิน 1 นาที
1
ขาหรือเท้ามีการเคลื่อนไหวหรือใช้แรงแบบซ้ำๆไปมา ตั้งแต่ 4 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป
 ขั้นตอนที่ 14 การประเมินแรงหรือภาระงานในส่วนของขาหรือเท้า
          การประเมินระดับภาระงาน น้ำหนักสิ่งของ หรือแรงที่ใช้ในการทำงาน เช่น แรงที่ใช้ในการเหยียบคันเร่งรถยนต์ ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ว่า คันเร่งนั้นมีแรงต้านกี่กิโลกรัม หรือกี่นิวตัน และลักษณะของการออกแรงเป็นแบบสถิต หรือแบบพลวัต ทำเป็นครั้งคราว หรือทำซ้ำๆบ่อยๆ ซึ่งจะมีผลต่อการปวดเมื่อยของผู้ปฏิบัติงานแตกต่างกันไป รายละเอียดการประเมินระดับภาระงาน น้ำหนักสิ่งของ หรือแรงที่ใช้ในการทำงานในส่วนของขา หรือเท้า แสดงดังตาราง โดยในการประเมินขั้นตอนนี้จะมีคะแนนสูงสุดไม่เกิน 3 คะแนน
ตารางแสดงคะแนนประเมินแรงหรือภาระงานในส่วนขาหรือเท้าในวิธี RULA
ส่วน
คะแนน
ท่าทาง
คะแนนหลัก
0
ภาระงานที่ใช้มีค่าน้อยกว่า 2 กก. อย่างไม่ต่อเนื่อง
1
ภาระงานที่ใช้มีค่าระหว่าง 2-10 กก.อย่างไม่ต่อเนื่อง
2
ภาระงานที่ใช้มีค่าระหว่าง 2-10 กก.โดยออกแรงแบบสถิต หรือเกิดขึ้นซ้ำๆตั้งแต่ 4 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป
3
ภาระงานที่ใช้มีค่ามากกกว่า 10 กก. โดยออกแรงแบบสถิต หรือ เกิดขึ้นซ้ำๆ หรือมีการออกแรงแบบกระแทก หรือกระชาก
ขั้นตอนที่ 15 สรุปคะแนนรวมของส่วนขาและเท้า
          การสรุปคะแนนรวมส่วนของขาและเท้าจะเป็นการนำเอาคะแนนของกลุ่ม B (Score B) ที่ได้จากขั้นตอนที่ 12 มารวมกับคะแนนการใช้กล้ามเนื้อ (ขั้นตอนที่ 13) และคะแนนประเมินแรงหรือภาระงาน (ขั้นตอนที่ 14) โดยคะแนนรวมที่ได้จะนำไปใช้ในการเปิดตารางสุดท้ายของการประเมินโดยวิธี RULA ในขั้นตอนถัดไป

ขั้นตอนที่ 16 การสรุปผลคะแนนความเสี่ยงโดยรวม
          ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการประเมินด้วยวิธี RULA ผู้ประเมินนำคะแนนสรุปรวมของส่วนแขนและข้อมือ (ขั้นตอนที่ 8) และคะแนนรวมของการประเมินส่วนขาและเท้า (ขั้นตอนที่ 15) มาอ่านค่าคะแนนความเสี่ยงโดยรวมจากตารางสุดท้าย (ตาราง C ในแบบฟอร์ม RULA) ซึ่งมีรายละเอียดคะแนนดังตาราง C โดยค่าความเสี่ยงที่อ่านได้จากตารางสุดท้ายจะนำมาแปลผลได้ดังตารางแปลผล

ตารางแสดงคะแนนประเมินตามเสี่ยงรวมโดยวิธี RULA (ตาราง C)
คะแนนสรุป
(แขน ข้อมือ)
คะแนนสรุป  (คอ ลำตัว ขา)
1
2
3
4
5
6
7+
1
1
2
3
3
4
5
5
2
2
2
3
4
4
5
5
3
3
3
3
4
4
5
6
4
3
3
3
4
5
6
6
5
4
4
4
5
6
7
7
6
4
4
5
6
6
7
7
7
5
5
6
6
7
7
7
8+
5
5
6
7
7
7
7

       ที่มา (McAtamney & Corlett, 1993)

ตารางแสดงการแปลผลคะแนนความเสี่ยงรวมในวิธี RULA
คะแนน
การแปลผล
1-2
ยอมรับได้ แต่อาจจะมีปัญหาทางการยศาสตร์ได้ถ้ามีการทำงานดังกล่าวซ้ำๆต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่าเดิม
3-4
ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมและติดตามวัดผลอย่างต่อเนื่องอาจจะจำเป็นที่จะต้องมีการออกแบบงานใหม่
5-6
งานนั้นเริ่มเป็นปัญหา ควรทำการศึกษาเพิ่มเติม และควรรีบปรับปรุง
7
งานนั้นมีปัญหาทางการยศาสตร์ และต้องมีการปรับปรุงทันที