การวิเคราะห์ท่าทางการทำงานโดยวิธี
OWAS
(Ovako Working Posture Analysis System) ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยโรงงานเหล็กในประเทศฟินแลนด์ร่วมกับสถาบันอาชีวอนามัยประเทศฟินแลนด์
(Finnish Institute of Occupational Health) เมื่อประมาณปี
ค.ศ. 1970 โดยใช้ในการประเมินคนงานในโรงงานเหล็ก
เนื่องจากพบปัญหาจำนวนคนงานที่มีการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นและมีการลาออกเพิ่มขึ้น
ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากมีอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกของพนักงาน วิธี OWAS
เป็นวิธีที่ง่ายต่อการประเมินและมีการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมและบริการอย่างกว้างขวาง
เช่น งานก่อสร้าง (Kivi & Mattila, 1991) งานช่างไม้ (Mattila, et al., 1993) งานพยาบาล (Engels, et al., 1994) งานเกษตรกรรม (Nevala-Puranen,
1995) งานตัดอ้อย (Messias และ Okuno, 2012) งานคลังสินค้า (Grzybowska, 2012)
อุตสาหกรรมผลิตถ่าน (Maia และ Francisco, 2012) อุตสาหกรรมผลิตไวน์ (Nwe, et al., 2012) เป็นต้น
การประเมินด้วยวิธี OWAS ใช้ประเมินอิริยาบถโดยการเฝ้าสังเกตการทำงานของพนักงานแต่ละท่าทางตลอดช่วงการทำงาน
โดยสังเกตหลัง แขน ขา และการออกแรงกล้ามเนื้อ
การสังเกตท่าทางในการทำงานควรจะทำโดยการสังเกตในสถานที่จริงและสภาพแวดล้อมจริง
หรืออาจจะมีการบันทึก VDO เพื่อใช้ในการประเมินรายละเอียดได้มากขึ้น
ข้อดีของการใช้ VDO คือทำให้ผู้ประเมินสามารถย้อนกลับเพื่อสังเกตท่าทางที่ประเมินได้
และทำให้มองเห็นรายละเอียดได้อย่างครบถ้วน
ซึ่งจะทำให้สามารถประเมินได้อย่างถูกต้องมากขึ้น
นอกจากนั้นเมื่อมีการปรับปรุงการทำงานใหม่จะสามารถใช้ VDO ในการแนะนำหรือชี้แจงให้พนักงานเห็นความแตกต่างของการทำงานก่อนและหลังการปรับปรุงได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น
การสังเกตท่าทางในการทำงานแบ่งช่วงเวลาสังเกตออกเป็นช่วงเวลาที่เท่าๆกันโดยทั่วไปจะใช้
30 วินาทีหรือ 60 วินาที
ซึ่งในทางปฏิบัติการใช้ความถี่ในการสังเกตหรือช่วงเวลาที่สั้นกว่านี้จะทำได้ยาก
ถ้าต้องการสังเกตโดยใช้ช่วงเวลาที่สั้น เช่น งานที่มีรอบเวลาสั้น
สามารถทำให้ได้โดยการบันทึก VDO การสังเกตการทำงานไม่ควรเกิน
40 นาที กรณีที่เกิน 40 นาทีควรมีช่วงพัก
10 นาที
การประเมินท่าทางการทำงานด้วยวิธี
OWAS
เป็นการประเมินท่าทางการทำงานที่มักจะพบทั่วไปในการทำงานปกติ
โดยได้มีการแบ่งท่าทางออกเป็น 84 ท่าทาง
และมีการประเมินน้ำหนักจะแยกเป็น 4 ด้าน คือ หลัง แขน ขา
และออกแรง ซึ่งจะได้เป็นรหัสของแต่ละด้านรวม 4 ตำแหน่ง
เรียกว่า รหัส OWAS ขั้นตอนการประเมินโดยวิธี OWAS มีรายละเอียดดังนี้
ขั้นตอนที่
1 การประเมินหลัง
การประเมินส่วนแรกจะเป็นการพิจารณาส่วนหลังหรือลำตัวของผู้ปฏิบัติงาน
กรณีที่หลังหรือลำตัวตรงจะเป็นลักษณะที่มีความเสี่ยงต่อการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและกระดูกน้อย
ในขณะที่ท่าทางที่ก้มตัว เอียงตัว บิดตัว เอี้ยวตัว จะมีโอกาสที่จะเกิดการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและกระดูกได้
การประเมินหลังหรือลำตัวแบ่งได้เป็น 4 รหัส ดังแสดงในตาราง
ตารางแสดงการประเมินท่าทางของหลังโดยวิธี
OWAS
รหัส
|
ท่าทาง
|
1
|
ตรง
|
2
|
ก้มตัวด้านหน้าหรือหลัง
|
3
|
บิดตัว
เอี้ยวตัว หรือก้มไปทางด้านข้าง
|
4
|
ก้มและบิดเอี้ยวตัว
(มีทั้งระดับ 2 และระดับ 3)
|
ขั้นตอนที่ 2 การประเมินแขน
ท่าทางของแขนในการปฏิบัติงานจะสังเกตแขนทั้ง
2
ข้างของผู้ปฏิบัติงาน ถ้าแขนทั้ง 2 ข้างทำงานอยู่ในระดับปลอดภัยคือไม่มีการยกแขนขึ้นสูงกว่าไหล่
เมื่อแขนต้องยกขึ้นเหนือไหล่ จะมีความเสี่ยงในการเกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ได้
การประเมินแขนแบ่งได้เป็น 3 รหัส แสดงดังตาราง
ตารางแสดงการประเมินท่าทางของแขนโดยวิธี OWAS
รหัส
|
ท่าทาง
|
1
|
แขนทั้ง
2 ข้างอยู่ในระดับต่ำกว่าไหล่
|
2
|
แขนข้างใดข้างหนึ่งอยู่ในระดับเดียวกับหรือสูงกว่าไหล่
|
3
|
แขนทั้ง
2 ข้างอยู่ระดับเดียวกับหรือสูงกว่าไหล่
|
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินขา
การประเมินส่วนขาจะประเมินทั้งในส่วนของการใช้กล้ามเนื้อในลักษณะสถิตซึ่งเป็นลักษณะอยู่กับที่
(Static)
และการประเมินการใช้กล้ามเนื้อในลักษณะพลวัต ซึ่งเป็นลักษณะที่มีการเคลื่อนไหว
(Dynamic) เช่น การเดิน
การประเมินจะสังเกตลักษณะท่าทางการทำงาน เช่น นั่ง ยืน นั่งยองๆ คุกเข่า เดิน ถ้ามีการยืนหรือนั่งยองๆ
ทำงานจะพิจารณาลักษณะการใช้ขาทั้ง 2 ด้วย
การประเมินขาแบ่งได้เป็น 7 รหัส แสดงดังตาราง
ตารางแสดงการประเมินท่าทางของขาโดยวิธี OWAS
รหัส
|
ท่าทาง
|
1
|
นั่งโดยน้ำหนักของร่างกายอยู่บนบั้นท้าย
และตำแหน่งขาจะอยู่ด้านล่าง
|
2
|
ยืนโดยขาตรงทั้ง
2 ข้าง (มุมของเข่ามากกว่า 150๐)
|
3
|
ยืนโดยน้ำหนักลงที่ขาข้างใดข้างหนึ่งที่เป็นขาข้างที่ตรง
(มุมของเข่ามากกว่า 150๐)
|
4
|
ยืนหรือนั่งยองๆโดยเข่างอทั้ง
2 ข้าง (มุมของเข่า ≤150๐)
|
5
|
ยืนหรือนั่งยองๆโดยเข่างอข้างเดียว
(มุมของเข่า ≤150๐)
|
6
|
คุกเข่าข้างหนึ่งหรือทั้ง
2 ข้าง
|
7
|
เดินหรือเคลื่อนที่ไปมา
|
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินภาระน้ำหนักหรือการออกแรง
การประเมินในขั้นตอนนี้จะเป็นการประเมินว่าผู้ปฏิบัติงานต้องแบกภาระน้ำหนักที่ถือหรือยกมากน้อยเพียงใด
ผู้ปฏิบัติต้องออกแรงการทำงานมากน้อยเพียงใด
การประเมินน้ำหนักหรือออกแรงแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ดังตาราง
ตารางแสดงการประเมินน้ำหนักหรือการออกแรงโดยวิธี OWAS
ระดับ
|
ท่าทาง
|
1
|
น้ำหนักหรือแรงที่ออกไม่เกิน
10 กิโลกรัม
|
2
|
น้ำหนักหรือแรงที่ออกมากกว่า
10 กิโลกรัมแต่ไม่เกิน 20 กิโลกรัม
|
3
|
น้ำหนักหรือแรงที่ออกมากกว่า
20 กิโลกรัม
|
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินภาระงาน
หลังจากการประเมินในขั้นตอนที่ 1-4
นำผลไปอ่านค่าประเมินภาระงานได้จากตาราง
ตารางแสดงการประเมินภาระงานโดยวิธี OWAS
หลัง
|
แขน
|
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
ขา
|
||||||||||||||
1
|
2
|
3
|
1
|
2
|
3
|
1
|
2
|
3
|
1
|
2
|
3
|
1
|
2
|
3
|
1
|
2
|
3
|
1
|
2
|
3
|
การออกแรง
|
||
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
2
|
2
|
2
|
2
|
2
|
2
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
|
2
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
2
|
2
|
2
|
2
|
2
|
2
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
||
1
|
3
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
2
|
2
|
3
|
2
|
2
|
3
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
2
|
|
2
|
1
|
2
|
2
|
3
|
2
|
2
|
3
|
2
|
2
|
3
|
3
|
3
|
3
|
3
|
3
|
3
|
2
|
2
|
2
|
2
|
3
|
3
|
|
2
|
2
|
2
|
3
|
2
|
2
|
3
|
2
|
2
|
3
|
3
|
4
|
4
|
3
|
4
|
4
|
3
|
3
|
4
|
2
|
3
|
4
|
||
3
|
3
|
3
|
4
|
2
|
2
|
3
|
3
|
3
|
3
|
3
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
2
|
3
|
4
|
||
3
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
2
|
3
|
3
|
3
|
4
|
4
|
4
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
|
2
|
2
|
2
|
3
|
1
|
1
|
1
|
1
|
1
|
2
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
3
|
3
|
3
|
1
|
1
|
1
|
||
3
|
2
|
2
|
3
|
1
|
1
|
1
|
2
|
2
|
3
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
1
|
1
|
1
|
||
4
|
1
|
2
|
3
|
3
|
2
|
2
|
3
|
2
|
2
|
3
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
2
|
3
|
4
|
|
2
|
3
|
3
|
4
|
2
|
3
|
4
|
3
|
3
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
2
|
3
|
4
|
||
3
|
4
|
4
|
4
|
2
|
3
|
4
|
3
|
3
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
4
|
2
|
3
|
4
|
ระดับภาระงานที่อ่านได้จากตารางจะแสดงถึงระดับของการพิจารณาดำเนินการเพื่อการปรับปรุงการทำงาน โดยมีรายละเอียดดังตาราง
ตารางแสดงระดับของการดำเนินการ
ระดับ
|
อันตรายจากภาระงาน
|
การดำเนินการ
|
1
|
ไม่เป็นอันตราย
(ยอมรับได้) |
ไม่ต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไข
เนื่องจากการทำงานดังกล่าวเป็นท่าทางปกติไม่มีอันตราย หรือมีความเสี่ยงที่จะส่งผลต่อการผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก
|
2
|
มีอันตรายเล็กน้อย
|
ควรต้องมีการปรับปรุงแก้ไขในไม่ช้า
เนื่องจากท่าทางการทำงานดังกล่าว
อาจมีผลกระทบหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อกล้ามเนื้อและกระดูก
|
3
|
มีอันตรายชัดเจน
|
ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขโดยเร็ว
เนื่องจากท่าทางการทำงานดังกล่าวมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อกล้ามเนื้อและกระดูก
|
4
|
มีอันตรายมาก
|
ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขโดยทันที
เนื่องจากท่าทางการทำงานดังกล่าวมีความเสี่ยงสูงมากที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อกล้ามเนื้อและกระดูก
|
ในการประเมินโดยวิธี OWAS
ผู้ประเมินควรจัดทำแบบฟอร์มเพื่อช่วยในการบันทึกข้อมูลดังแสดงในภาคผนวก
และควรมีระบุลักษณะงานที่มีการประเมินท่าทางการทำงาน
โดยการกำหนดเป็นรหัสของงาน เพื่อช่วยในการวิเคราะห์งานในลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น
กำหนดให้
00
การยก
01
การถือ
02
การบรรจุ
03
การปรับแต่ง
เป็นต้น
การประเมินโดยวิธี OWAS
สามารถประเมินโดยคำนึงเวลาที่ใช้ในการทำงานในท่าทางนั้นๆ
โดยประเมินตามสัดส่วนของเวลาในท่าทางต่างๆของส่วน หลัง แขน และขา
ในช่วงเวลาของการสังเกตกิจกรรมทั้งหมด
ระดับการพิจารณาความเป็นอันตรายจะพิจารณาเช่นเดียวกับการประเมินท่าทาง โดยรวมของทั้งร่างกายคือมี
4 ระดับ การพิจารณาความเสี่ยงของท่าทางของส่วน หลัง แขน และขา แสดงดังตาราง
ตารางแสดงระดับอันตรายสำหรับการประเมินโดยใช้สัดส่วนเวลาในวิธี OWAS
ตัวอย่าง การประเมินระดับอันตรายของร่างกายส่วนหลังของพนักงานคนหนึ่งจากการเก็บข้อมูลจากการสังเกต
25 ครั้งพบว่า มีข้อมูลดังนี้
ตารางแสดงข้อมูลการประเมินร่างกายส่วนหลัง
ครั้ง
|
รหัส OWAS
ส่วนหลัง
|
ครั้ง
|
รหัส OWAS
ส่วนหลัง
|
ครั้ง
|
รหัส OWAS
ส่วนหลัง
|
||
1
|
1
|
11
|
1
|
21
|
1
|
||
2
|
2
|
12
|
1
|
22
|
2
|
||
3
|
1
|
13
|
4
|
23
|
1
|
||
4
|
1
|
14
|
1
|
24
|
2
|
||
5
|
2
|
15
|
2
|
25
|
2
|
||
6
|
2
|
16
|
1
|
||||
7
|
1
|
17
|
4
|
||||
8
|
3
|
18
|
1
|
||||
9
|
1
|
19
|
2
|
||||
10
|
2
|
20
|
1
|
จากข้อมูลข้างต้น
นำมาสรุปสัดส่วนและจำนวนครั้งของท่าทางของร่างกายส่วนหลังและสามารถประเมินผลระดับอันตรายได้ดังตาราง
ตารางแสดงสรุปสัดส่วนของแต่ละท่าทาง
รหัส
|
ท่าทาง
|
ความถี่
|
สัดส่วน
|
ผลประเมิน
|
1
|
ตรง
|
13
|
52%
|
ระดับ 1 (ยอมรับได้)
|
2
|
ก้มตัวด้านหน้าหรือหลัง
|
9
|
36%
|
ระดับ 2 (มีอันตรายเล็กน้อย)
|
3
|
บิดตัว
เอี้ยวตัว หรือก้มไปทางด้านข้าง
|
1
|
4%
|
ระดับ 1 (ยอมรับได้)
|
4
|
ก้มและบิดเอี้ยวตัว
(มีทั้งระดับ 2 และระดับ 3)
|
2
|
8%
|
ระดับ 2 (มีอันตรายเล็กน้อย)
|
สรุปได้ว่าระดับอันตรายสำหรับการประเมินร่างกายส่วนหลังเฉพาะงานที่ทำการประเมินนี้อยู่ในระดับ
2 คือ มีอันตรายเล็กน้อย นั่นคือ ควรต้องมีการปรับปรุงในไม่ช้า
การใช้วิธี OWAS
มีข้อดีหลายประการ เช่น
เป็นวิธีที่ค่อนข้างง่ายไม่ซับซ้อนเมื่อเทียบกับวิธีอื่นๆ และมีการประเมินแยกตามส่วนหลักๆของร่างกายโดยพิจารณาถึงเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
อย่างไรก็ตามวิธี OWAS ก็มีจุดอ่อนตรงที่ค่อนข้างจะประเมินหยาบๆคือ
มองเฉพาะส่วนหลัก 3 ส่วนคือ หลัง แขน และขา
นอกจากนั้นยังไม่ได้มีการประเมินแยกระหว่างร่างกายด้านซ้ายและขวา ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีการที่พัฒนาวิธี
OWAS ให้มีการประเมินส่วนหัวและคอเพิ่มอีก 1 ส่วน โดยเป็นการประเมินเพิ่มเติมจาก OWAS ฉบับเดิม
ซึ่งมีระดับอันตรายสำหรับการประเมินส่วนหัวและคอโดยประเมินตามสัดส่วนของเวลาของแต่ละท่าทางซึ่งแบ่งเป็น
5 ท่าทาง ดังแสดงในตาราง
ตารางแสดงระดับอันตรายของส่วนหัวและคอโดยประเมินตามสัดส่วนของเวลาในวิธี OWAS