วิธีการประเมินทั่วทั้งร่างกาย
(Rapid Entire Body Assessment, REBA) เป็นการประเมินท่าทางการทำงานที่เป็นการประเมิน
ตั้งแต่ส่วนของ คอ ลำตัว ขา แขน และมือ เป็นเทคนิคที่คิดค้นโดย
ซู ฮิกเน็ท (Sue Hignett) ซึ่งเป็นนักการยศาสตร์ของโรงพยาบาลแห่งเมือง Nottingham ประเทศสหราชอาณาจักร และ Lyn McAtamney ผู้อำนวยการของบริษัทที่ให้บริการทางด้านการยศาสตร์และอาชีวอนามัย (Occupational health and ergonomic services Ltd.) ในประเทศ สหราชอาณาจักรเช่นกัน การประเมินด้วยวิธี REBA จะเหมาะสำหรับการประเมินส่วนต่างๆของร่างกายสำหรับงานที่มีลักษณะเปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็วหรืองานที่ไม่อยู่กับที่ งานที่ไม่นั่งหรือยืนปฏิบัติงานในท่าทางเดิมๆซ้ำๆตลอดเวลา รวมถึงงานที่มีท่าทางการทำงานที่ไม่สามารถคาดเดาได้ เช่นงานบริการ เป็นต้น วิธี REBA ได้ถูกนำมาใช้ในการประเมินท่าทางการทำงานของพนักงานในภาคอุตสาหกรรมด้วย เช่น โรงงานเลื่อยไม้(Jones & Kumar, 2010) เป็นต้น การประเมินท่าทางการทำงานด้วยวิธี
REBA ควรมีการดำเนินการตามลำดับดังนี้
ซู ฮิกเน็ท (Sue Hignett) ซึ่งเป็นนักการยศาสตร์ของโรงพยาบาลแห่งเมือง Nottingham ประเทศสหราชอาณาจักร และ Lyn McAtamney ผู้อำนวยการของบริษัทที่ให้บริการทางด้านการยศาสตร์และอาชีวอนามัย (Occupational health and ergonomic services Ltd.) ในประเทศ สหราชอาณาจักรเช่นกัน การประเมินด้วยวิธี REBA จะเหมาะสำหรับการประเมินส่วนต่างๆของร่างกายสำหรับงานที่มีลักษณะเปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็วหรืองานที่ไม่อยู่กับที่ งานที่ไม่นั่งหรือยืนปฏิบัติงานในท่าทางเดิมๆซ้ำๆตลอดเวลา รวมถึงงานที่มีท่าทางการทำงานที่ไม่สามารถคาดเดาได้ เช่นงานบริการ เป็นต้น วิธี REBA ได้ถูกนำมาใช้ในการประเมินท่าทางการทำงานของพนักงานในภาคอุตสาหกรรมด้วย เช่น โรงงานเลื่อยไม้
1. การเตรียมการ
ในขั้นตอนนี้ผู้ประเมินควรต้องชี้แจงผู้ปฏิบัติงานที่จะได้รับการประเมินเพื่อสื่อสารวัตถุประสงค์ของการประเมินให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับทราบ
เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานอย่างเป็นปกติ ไม่เกิดการเกร็ง
หรือทำงานเป็นท่าทางที่แตกต่างไปจากการปฏิบัติงานประจำ
หลังจากนั้นผู้ประเมินควรต้องสัมภาษณ์ลักษณะงานและขั้นตอนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานรวมทั้งสังเกตการณ์ทำงาน
ท่าทางการเคลื่อนที่ของผู้ปฏิบัติงาน
หลายๆรอบของการทำงานเพื่อให้เข้าใจลำดับและขั้นตอนการทำงาน รอบเวลาที่ใช้ตำแหน่ง
และท่าทางผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้งานประกอบการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถประเมินได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น
2. การเลือกงานที่จะประเมิน
การประเมินด้วยวิธี
REBA
สามารถประเมินได้อย่างรวดเร็วจึงทำให้สามารถประเมินได้หลายตำแหน่งและหลายงานในรอบของการทำงาน
การประเมินด้วย REBA สามารถประเมินเพียงร่างกายด้านซ้าย
หรือด้านขวาเพียงด้านเดียวก็ได้ หรือในกรณีที่จำเป็นอาจจะประเมินทั้ง 2 ด้านก็ได้ การเลือกท่าทางที่จะประเมินอาจพิจารณาดังนี้
(1) เป็นท่าทางหรืองานที่ยากที่สุด
(จากการสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานและจากการสังเกตของผู้ประเมิน)
(2) เป็นท่าทางที่ใช้เวลานานที่สุด
(3)
เป็นท่าทางที่ต้องมีการใช้แรงมากที่สุด
3. การประเมินด้วยแบบประเมิน
REBA
การประเมินด้วย
REBA ได้มีการจัดทำเป็นรูปแบบ
แบบประเมินเพื่อให้ง่ายต่อผู้ประเมินในการประเมินในพื้นที่ปฏิบัติงาน มีการประเมินเป็น 2 กลุ่มหลักคือ
กลุ่ม A ประกอบด้วยการประเมินคอ ลำตัว และขา และกลุ่ม B
ประกอบด้วยการประเมินส่วนแขนและข้อมือ โดยการประเมินแบ่งเป็น 15
ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่
1 การประเมินส่วนคอ (Neck)
การประเมินส่วนคอจะพิจารณาจากมุมของคอที่เทียบกับแนวตั้งของร่างกาย
ท่าทางการทำงานของผู้ปฏิบัติงานที่มีมุมของคอที่ก้มหรือเงยมากเกินไปจะทำให้อาจจะมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณคอได้
นอกจากนั้น ลักษณะของคอที่มีการบิด
หรือเอียงก็ทำให้เกิดความเสี่ยงต่ออาการปวดเมื่อยได้เช่นกัน
การให้คะแนนการประเมินส่วนคอมีการให้คะแนนดังตาราง และรูป โดยมีวิธีการคิดคะแนนเช่นเดียวกับวิธี RULA คือ การให้คะแนนหลักก่อนโดยเลือกคะแนนหลักได้เพียงข้อเดียวที่มีความสอดคล้องกับท่าการทำงานมากที่สุด
จากนั้นจะพิจารณาให้คะแนนเพิ่มเติมจากท่าทางที่มีความเสี่ยงโดยสามารถเพิ่มได้มากกว่า
1 ข้อ ในขั้นตอนนี้มีคะแนนสูงสุดไม่เกิน 4 คะแนน
ตารางแสดงคะแนนประเมินส่วนคอในวิธี
REBA
ส่วน
|
คะแนน
|
ท่าทาง
|
คะแนนหลัก
|
1
|
ก้มคอ
โดยมีมุม 0-20๐
|
2
|
ก้มคอ
โดยมีมุม มากกว่า 20๐
|
|
2
|
เงยหน้า
(คอแอนไปด้านหลัง) มากกว่า 20๐
|
|
คะแนนปรับเพิ่ม
|
+1
|
มีการหมุนคอ
|
+1
|
มีการเอียงคอไปด้านข้าง
|
รูปแสดงลักษณะการประเมินส่วนคอในวิธี
REBA
ที่มา : (Hignett & McAtamney, 2000)
ขั้นตอนที่
2 การประเมินส่วนลำตัว (Trunk)
การประเมินส่วนลำตัวจะเป็นการประเมินมุมการเอียงของลำตัว
ทั้งการเอียงไปด้านหน้าและด้านหลัง
ตำแหน่งของลำตัวที่มีความเหมาะสมคือการที่ลำตัวอยู่ในตำแหน่งตั้งตรง
ผู้ปฏิบัติงานที่มีท่าทางการเอียงตัวด้านหน้าและด้านหลังมากเกินไปจะทำให้มีโอกาสในการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณลำตัวได้
นอกจากนั้นถ้าลำตัวของผู้ปฏิบัติงานจำเป็นที่จะต้องมีการบิดหรือเอี้ยวตัว
หรือเอียงตัวไปด้านข้างด้านใดด้านหนึ่ง
ก็จะทำให้ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการปวดเมื่อยร่างกายมากขึ้นด้วย
การประเมินคะแนนในส่วนของลำตัว มีรายละเอียดดังรูปและตาราง โดยมีคะแนนสูงสุดได้ไม่เกิน 6 คะแนน
ตารางแสดงคะแนนประเมินในส่วนลำตัวในวิธี
REBA
ส่วน
|
คะแนน
|
ท่าทาง
|
คะแนนหลัก
|
1
|
ลำตัวตั้งตรง
|
2
|
เอนตัวไปด้านหลัง
|
|
2
|
เอนตัวไปด้านหน้า
0-20๐
|
|
3
|
เอนตัวไปด้านหน้า
20-60๐
|
|
4
|
เอนตัวไปด้านหน้า
มากกว่า 60๐
|
|
คะแนนปรับเพิ่ม
|
+1
|
มีการหมุนตัว
|
+1
|
มีการเอนตัวไปด้านข้าง
|
รูปแสดงการประเมินส่วนลำตัวในวิธี
REBA
ที่มา : (Hignett &
McAtamney, 2000)
ขั้นตอนที่
3 การประเมินส่วนขา (Legs)
ในส่วนของการประเมินขาของผู้ปฏิบัติงาน
ถ้าผู้ปฏิบัติงานยืนขาตรงอยู่เสมอและอยู่ในลักษณะสมดุล
จะถือว่าเป็นท่าทางที่เหมาะสม
แต่ในการปฏิบัติงานอาจจะมีการเคลื่อนไหวส่วนขาซึ่งจะทำให้มีความเสี่ยงในการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณขาได้
และในกรณีที่มีการย่อเข่าก็จะทำให้ความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น
การประเมินส่วนของขามีรายละเอียดดังรูป และตาราง โดยมีคะแนนสูงสุดได้ไม่เกิน 4 คะแนน
ส่วน
|
คะแนน
|
ท่าทาง
|
คะแนนหลัก
|
1
|
ลักษณะขายืนอยู่ในแนวดิ่งตรงและสมดุลทั้ง
2 ข้าง
|
2
|
ขายืนไม่สมดุล
|
|
คะแนนปรับเพิ่ม
|
+1
|
มีการย่อเข่าระหว่าง
30-60๐
|
+2
|
มีการย่อเข่า
มากกว่า 60๐
|
รูปแสดงลักษณะการประเมินส่วนขาในวิธี
REBA
ที่มา : (Hignett &
McAtamney, 2000)
ขั้นตอนที่
4 ประเมินคะแนนของท่าทางในกลุ่ม A
จากคะแนนที่ได้ในขั้นตอนที่ 1-3 นำค่าที่ได้มาอ่านค่าในตารางการประเมินท่าทางในกลุ่ม
A ดังตาราง
ตารางแสดงการประเมินคะแนนท่าทางในกลุ่ม
A ในวิธี REBA (ตาราง A )
คอ
|
|||||||||||||
1
|
2
|
3
|
|||||||||||
ลำตัว
|
ขา
|
1
|
2
|
3
|
4
|
1
|
2
|
3
|
4
|
1
|
2
|
3
|
4
|
1
|
1
|
2
|
3
|
4
|
1
|
2
|
3
|
4
|
3
|
3
|
5
|
6
|
|
2
|
2
|
3
|
4
|
5
|
3
|
4
|
5
|
6
|
4
|
5
|
6
|
7
|
|
3
|
2
|
4
|
5
|
6
|
4
|
5
|
6
|
7
|
5
|
6
|
7
|
8
|
|
4
|
3
|
5
|
6
|
7
|
5
|
6
|
7
|
8
|
6
|
7
|
8
|
9
|
|
5
|
4
|
6
|
7
|
8
|
6
|
7
|
8
|
9
|
7
|
8
|
9
|
9
|
|
ที่มา
:
(Hignett & McAtamney, 2000)
ขั้นตอนที่
5 แรงที่ใช้หรือภาระงาน (Force/Load)
ภาระงานหรือแรงที่ใช้ในการปฏิบัติงานเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความเมื่อยล้ามากยิ่งขึ้น
และจะยิ่งมีความเสี่ยงต่อการปวดเมื่อย
หรือทำให้เกิดความล้ามากขึ้นถ้าเป็นการใช้แรงแบบกระแทรก หรือกระชากเร็วๆ รายละเอียดของการประเมินภาระงาน
หรือแรงที่ใช้ แสดงในตาราง โดยมีคะแนนสูงสุดไม่เกิน 3 คะแนน
ตารางแสดงคะแนนการประเมินเป็นแรงและภาระงานโดยวิธี
REBA
ส่วน
|
คะแนน
|
ท่าทาง
|
คะแนนหลัก
|
0
|
แรงหรือภาระงานที่ใช้น้อยกว่า
11 ปอนด์
|
1
|
แรงหรือภาระงานที่ใช้อยู่ระหว่าง
11-22 ปอนด์
|
|
2
|
แรงหรือภาระงานที่ใช้มากกว่า
22 ปอนด์
|
|
คะแนนปรับเพิ่ม
|
+1
|
ถ้าแรงเป็นแบบกระแทกหรือกระชากเร็วๆ
|
ขั้นตอนที่ 6 การสรุปคะแนนรวมในกลุ่ม A
จากคะแนนการประเมินท่าทางในกลุ่ม
A ซึ่งได้มาจากขั้นตอนที่ 4 นำมารวมกับคะแนนในขั้นตอนที่
5 จะได้เป็นคะแนนรวมของการประเมินในกลุ่ม A ซึ่งจะนำมาใช้ในการประเมินคะแนนรวมของวิธี REBA
ขั้นตอนที่
7 การประเมินแขนส่วนบน (Upper arm)
ในขั้นตอนที่
7-11 จะเป็นการประเมินในกลุ่ม B ซึ่งประกอบด้วยแขน
และข้อมือ โดยการประเมินในส่วนนี้สามารถประเมินด้านซ้ายและด้านขวา
แยกกันหรือประเมินด้านที่มีความเสี่ยงมากกว่าก็ได้ ในขั้นตอนที่ 7 จะประเมินเฉพาะในส่วนของแขนส่วนบน นั่นคือการพิจารณาเฉพาะแขนตั้งแต่หัวไหล่
จนถึงข้อศอกว่ามีมุมอย่างไรเมื่อเทียบกับระดับแนวดิ่งของลำตัว
โดยระดับมุมที่มีความเสี่ยงน้อยคือ ท่าทางที่มีมุมอยู่ระหว่าง 20๐ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของลำตัว
แต่ถ้าผู้ปฏิบัติงานมีการยกแขนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มากกว่า 20๐ จะมีความเสี่ยงมากต่อการปวดเมื่อย
โดยระดับมุมที่มากขึ้นจะทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้นตามลำดับ รายละเอียดของคะแนนการประเมินในส่วนแขนส่วนบน
แสดงดังตาราง และรูป คะแนนของการประเมินในส่วนนี้มีค่าสูงสุดได้ไม่เกิน 6 คะแนน
ตารางแสดงคะแนนการประเมินแขนส่วนบนในวิธี
REBA
ส่วน
|
คะแนน
|
ท่าทาง
|
คะแนนหลัก
|
1
|
แขนอยู่ในตำแหน่งไปข้างหน้า-หลังไม่เกิน
20๐
|
2
|
แขนอยู่ด้านหลัง
เกิน 20๐
|
|
2
|
แขนอยู่ด้านหน้า
20-45๐
|
|
3
|
แขนอยู่ด้านหน้า
45-90๐
|
|
4
|
แขนอยู่ในตำแหน่งเหนือไหล่
(มีมุมเกิน 90๐
เมื่อเทียบกับลำตัว)
|
|
คะแนนปรับเพิ่ม
|
+1
|
มีการยกหัวไหล่
|
+1
|
หัวไหล่กางออก
|
|
-1
|
ถ้ามีที่วางแขน
หรือสามารถพาดแขนได้
|
รูปแสดงลักษณะท่าทางการประเมินแขนส่วนบนในวิธี
REBA
ที่มา : (Hignett &
McAtamney, 2000)
ขั้นตอนที่
8 การประเมินแขนส่วนล่าง (Lower arm หรือ forearm)
แขนส่วนล่างคือบริเวณตั้งแต่ข้อศอกไปจนถึงข้อมือของผู้ปฏิบัติงาน
ลักษณะตำแหน่งของแขนส่วนล่างที่มีความเสี่ยงต่ออาการปวดเมื่อยมากถ้าแขนไม่ได้อยู่ในแนวระดับ
หรือตั้งฉากกับร่างกาย ถ้าแขนงอขึ้นข้างบน
หรือแขนตกลงต่ำมากเกินไปจะทำให้มีโอกาสปวดเมื่อยมากยิ่งขึ้น รายละเอียดของคะแนนการประเมินแขนส่วนล่าง
แสดงดังตาราง และรูป คะแนนสูงสุดของขั้นนี้ไม่เกิน 2 คะแนน
ตารางแสดงคะแนนการประเมินแขนส่วนล่างในวิธี
REBA
ส่วน
|
คะแนน
|
ท่าทาง
|
คะแนนหลัก
|
1
|
แขนส่วนล่างอยู่ในระดับที่มีมุมระหว่าง
60-100๐
เมื่อเทียบกับแนวดิ่ง
|
2
|
แขนส่วนล่างตกลงมาด้านล่างโดยมีมุมน้อยกว่า
60๐
หรือแขนอยู่ในตำแหน่งยกขึ้นด้านบนทำมุมมากกว่า 100๐ เมื่อเทียบกับแนวดิ่ง
|
รูปแสดงลักษณะการประเมินแขนส่วนล่างในวิธี
REBA
ที่มา : (Hignett &
McAtamney, 2000)
ขั้นตอนที่
9 การประเมินข้อมือ (Wrist)
การประเมินลักษณะท่าทางของข้อมือจะดูจากท่าทางการใช้มือของผู้ปฏิบัติงานในระหว่างการทำงาน
ลักษณะของข้อมือที่เคลื่อนไหวถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ควรจะอยู่ในแนวระดับเดียวกับแขนส่วนล่างนั่นคือ
อยู่ในลักษณะข้อมือตรง หรืออาจจะมีการบิดงอได้ประมาณ ±15๐ ขึ้นหรือลง เมื่อเทียบกับแนวแขนส่วนล่าง
ถ้าข้อมือไม่ได้อยู่ในระดับดังกล่าว จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดการปวดเมื่อยได้
รายละเอียดการประเมินท่าทางของข้อมือ แสดงดังตาราง และรูป คะแนนสูงสุดของการประเมินในขั้นตอนนี้มีค่าไม่เกิน 4 คะแนน
ตารางแสดงคะแนนการประเมินข้อมือในวิธี
REBA
ส่วน
|
คะแนน
|
ท่าทาง
|
คะแนนหลัก
|
1
|
ตำแหน่งของข้อมือ
(แนวกระดูกฝ่ามือ) อยู่ในแนวเดียวกับแขนส่วนล่างหรืองอขึ้น หรือลงได้ไม่เกิน 15๐
|
2
|
ตำแหน่งของข้อมือ
(แนวกระดูกฝ่ามือ) หรือลงมากกว่า 15๐ เมื่อเทียบกับแนวแขนส่วนล่าง
|
|
คะแนนปรับเพิ่ม
|
+1
|
มีการหมุนข้อมือ
|
+1
|
มีการเอียงข้อมือไปด้านข้าง
(ซ้าย-ขวา)
|
รูปแสดงลักษณะการประเมินข้อมือในวิธี
REBA
ที่มา : (Hignett &
McAtamney, 2000)
ขั้นตอนที่
10 การประเมินคะแนนของท่าทางในกลุ่ม B
จากคะแนนที่ได้ในขั้นตอนที่
7-9 นำค่าที่ได้มาอ่านค่าในตารางการประเมินท่าทางในกลุ่ม B
ดังตารางในกรณีที่มีการประเมินแขนและข้อมือ ทั้งซ้ายและขวา ก็ให้อ่านค่าทั้ง 2 ค่า
ตารางแสดงการประเมินคะแนนท่าทางในกลุ่ม
B วิธี REBA (ตาราง B)
แขนส่วนล่าง
|
|||||||
แขนส่วนบน
|
1
|
2
|
|||||
ข้อมือ
|
1
|
2
|
3
|
1
|
2
|
3
|
|
1
|
1
|
2
|
3
|
1
|
2
|
3
|
|
2
|
1
|
2
|
3
|
2
|
3
|
4
|
|
3
|
3
|
4
|
5
|
4
|
5
|
5
|
|
4
|
4
|
5
|
5
|
5
|
6
|
7
|
|
5
|
6
|
7
|
8
|
7
|
8
|
8
|
|
6
|
7
|
8
|
8
|
8
|
9
|
9
|
ที่มา : (Hignett & McAtamney, 2000)
ขั้นตอนที่
11 การประเมินการจับยึดวัตถุ (Coupling)
ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานมีการจับยึดวัตถุ
เช่น เครื่องมืออุปกรณ์ชิ้นงาน หรือชิ้นส่วนต่างๆ จะต้องมีการประเมินลักษณะการจัดยึดวัตถุนั้นๆ
กรณีที่วัตถุที่มีมือจับที่สามารถยึดกำได้รอบอย่างถนัดมือจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานได้สะดวกและใช้แรงในการจับยึดค่อนข้างน้อย
ซึ่งจะทำให้มีโอกาสในการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อน้อย แต่ถ้าวัตถุที่จับยึดไม่มีมือจับ
กำได้ไม่รอบ มีลักษณะของมือจับไม่เหมาะสม หรือวัตถุมีลักษณะที่จับยึดได้ลำบาก
จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องออกแรงในการจับยึดมากขึ้นก็จะทำให้มีโอกาสในการปวดเมื่อยมากขึ้นเช่นกัน
รายละเอียดของการประเมินการจับยึดวัตถุแสดงดังตาราง คะแนนสูงสุดไม่เกิน 3 คะแนน
ตารางแสดง คะแนนการประเมินการจับยึดวัตถุในวิธี
REBA
ส่วน
|
คะแนน
|
ท่าทาง
|
คะแนนหลัก
|
0
|
วัตถุจับยึดมีมือจับ
ผู้ปฏิบัติสามารถจับยึดได้ถนัดมือสามารถกำได้รอบมือ
|
1
|
วัตถุจับยึดมีมือจับ
แต่ไม่เหมาะสม ผู้ปฏิบัติไม่สามารถกำได้รอบมือ
|
|
2
|
ไม่มีมือจับแต่มีจุดที่สามารถสอดนิ้วมือหรืองอนิ้วมือเพื่อจับยึดได้
|
|
3
|
ไม่มีมือจับและวัตถุจับยึดได้ยากเช่น
เปลี่ยนรูปร่างได้เป็นก้อนกลมใหญ่ ผิวลื่นมัน เป็นต้น
|
ขั้นตอนที่
12 การสรุปคะแนนรวมในกลุ่ม B
จากคะแนนการประเมินท่าทางในกลุ่ม
B
จะได้มาจากการรวมคะแนนของขั้นตอนที่ 10 และ 11
เข้าด้วยกัน เพื่อนำไปใช้ในการเปิดตารางรวมคะแนนสุดท้าย
ขั้นตอนที่
13 การประเมินการเคลื่อนไหวและกิจกรรมของงาน
การประเมินในขั้นตอนนี้จะเป็นการพิจารณาถึงลักษณะของงานที่ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการว่ามีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างไร
หรือมีลักษณะงานเป็นอย่างไร ในกรณีที่งานดังกล่าวมีการเคลื่อนไหวซ้ำๆมากกว่า 4 ครั้งต่อนาที หรือมีร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งอยู่กับที่นานกว่า 1 นาที หรือมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของร่างกายมากและเร็ว
หรือมีการทรงตัวที่ไม่ดี
ลักษณะดังกล่าวจะส่งผลให้มีโอกาสที่ผู้ปฏิบัติงานจะมีอาการปวดเมื่อยได้ การประเมินในส่วนของการเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมของงานมีรายละเอียดดังแสดงในตาราง ในกรณีที่งานไม่ได้มีลักษณะดังกล่าวก็ไม่มีคะแนนในส่วนนี้ คะแนนในขั้นตอนนี้มีค่าสูงสุดไม่เกิน
1
คะแนน
ตารางแสดง การเคลื่อนไหวและกิจกรรมของงานในวิธี
REBA
ส่วน
|
คะแนน
|
ท่าทาง
|
คะแนนหลัก
|
1
|
ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งอยู่กับที่นานกว่า
1 นาที
|
1
|
มีการเคลื่อนไหวร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งซ้ำๆ
มากกว่า 4 ครั้งต่อนาที
|
|
1
|
มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งท่าทางของร่างกายมากและเร็ว
หรือมีการทรงตัวไม่ดี
|
ขั้นตอนที่
14 การหาค่าคะแนน C
การหาค่าคะแนน
C จะได้มาจากการเปิดตาราง C โดยนำค่าคะแนนประเมินรวมของกลุ่ม
A (จากขั้นตอนที่ 6)
และคะแนนประเมินรวมของกลุ่ม B (จากขั้นตอนที่ 12) มาอ่านค่าจากตาราง C ดังแสดงในตาราง
ตารางแสดง การหาค่าคะแนน C
ในวิธี REBA (ตาราง C)
คะแนนกลุ่ม B
|
|||||||||||||
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
8
|
9
|
10
|
11
|
12
|
||
คะแนนกลุ่ม A
|
1
|
1
|
1
|
1
|
2
|
3
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
7
|
7
|
2
|
1
|
2
|
2
|
3
|
4
|
4
|
5
|
6
|
6
|
7
|
7
|
8
|
|
3
|
2
|
3
|
3
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
7
|
8
|
8
|
8
|
|
4
|
3
|
4
|
4
|
4
|
5
|
6
|
7
|
8
|
8
|
9
|
9
|
9
|
|
5
|
4
|
4
|
4
|
5
|
6
|
7
|
8
|
8
|
9
|
9
|
9
|
9
|
|
6
|
6
|
6
|
6
|
7
|
8
|
8
|
9
|
9
|
10
|
10
|
10
|
10
|
|
7
|
7
|
7
|
7
|
8
|
9
|
9
|
9
|
10
|
10
|
11
|
11
|
11
|
|
8
|
8
|
8
|
8
|
9
|
10
|
10
|
10
|
10
|
10
|
11
|
11
|
11
|
|
9
|
9
|
9
|
9
|
10
|
10
|
10
|
11
|
11
|
11
|
12
|
12
|
12
|
|
10
|
10
|
10
|
10
|
11
|
11
|
11
|
11
|
12
|
12
|
12
|
12
|
12
|
|
11
|
11
|
11
|
11
|
12
|
12
|
12
|
12
|
12
|
12
|
12
|
12
|
12
|
|
12
|
12
|
12
|
12
|
12
|
12
|
12
|
12
|
12
|
12
|
12
|
12
|
12
|
ที่มา : (Hignett &
McAtamney, 2000)
ขั้นตอนที่ 15 การหาค่าคะแนนความเสี่ยงรวมและการสรุปผลคะแนน
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการประเมินด้วยวิธี
REBA
ผู้ประเมินนำคะแนนจากตาราง C (จากขั้นตอนที่ 14) มารวมกับคะแนนที่ได้จากการประเมินการเคลื่อนไหว และกิจกรรมของงาน
(จากขั้นตอนที่ 13) ก็จะได้คะแนนความเสี่ยงรวม
โดยการแปลผลค่าคะแนนความเสี่ยงรวม แสดงดังตาราง
ตารางแสดง การแปลผลคะแนนความเสี่ยงรวมในวิธี
REBA
คะแนน
|
การแปลผล
|
1
|
ความเสี่ยงน้อยมาก
|
2-3
|
ความเสี่ยงน้อย
ยังต้องมีการปรับปรุง
|
4-7
|
ความเสี่ยงปานกลาง
ควรวิเคราะห์เพิ่มเติมและควรได้รับการปรับปรุง
|
8-10
|
ความเสี่ยงสูง
ควรวิเคราะห์เพิ่มเติมและควรรีบปรับปรุง
|
≥11
|
ความเสี่ยงสูงมาก
ควรปรับปรุงทันที
|