วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การประเมินความเสี่ยงโดยวิธี ROSA

การประเมิน ROSA ใช้บ่งชี้ปัจจัยเสี่ยงของพนักงานที่ทำงานในสำนักงาน ROSA เป็นเครื่องมือที่ออกมาหลัง RULA และ REBA แต่ใช้หลักการประเมินโดยรูปภาพเช่นเดียวกัน วัตถุประสงค์ของการประเมินโดย ROSA คือ การใช้เป็นเครื่องมือในการบ่งชี้จุดที่มีปัจจัยเสี่ยงในการทำงานในสำนักงานเป็นหลัก โดยพิจารณาจากอุปกรณ์ที่ใช้งาน เช่น เก้าอี้ หน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เมาส์ แป้นพิมพ์ นอกจากนั้นยังพิจารณาถึงระยะเวลาในการใช้งานอุปกรณ์นั้นๆด้วย ผลคะแนนของการประเมินจะมีค่าตั้งแต่ 1 ถึง 10 คะแนน ROSA ที่มากกว่า 5 แปลว่า เป็นจุดที่มีความเสี่ยงสูงและควรจะมีการวิเคราะห์สถานีงานเพิ่มเติม เพื่อการปรับปรุง และลดภาวะเสี่ยงที่เกิดขึ้น
การประเมินโดยวิธี ROSA มีขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การประเมินความสูงของเก้าอี้ (Chair height)
          การประเมินในขั้นตอนนี้จะประเมินท่าทางในการนั่งบนเก้าอี้ที่ใช้ในการทำงาน โดยพิจารณาจากลักษณะความเหมาะสมของเก้าอี้ว่าได้มีการออกแบบส่วนประกอบต่างๆได้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานนั้นๆหรือไม่ เช่น ระดับความสูงของเก้าอี้เหมาะสมกับความสูงของข้อพับเข่า ถ้าความสูงของเก้าอี้มากเกินไปจะทำให้ขาของผู้นั่งไม่สามารถแตะถึงพื้นได้จะทำให้เกิดการกดทับบริเวณใต้ข้อพับเข่า ทำให้ไม่เกิดการไหลเวียนที่ดีของเลือด ในทางกลับกันถ้าความสูงของเก้าอี้น้อยเกินไปจะทำให้บริเวณใต้ข้อพับเข่าไม่มีที่รับน้ำหนัก ซึ่งจะทำให้เกิดความล้าบริเวณต้นขาได้ นอกจากนั้น การที่เก้าอี้ไม่สามารถปรับความสูงได้ และมีพื้นที่ใต้โต๊ะคับแคบจนเกินไปจะทำให้ไม่สะดวกต่อการใช้งาน รายละเอียดของคะแนนการประเมินความสูงของเก้าอี้แสดงดังตาราง และรูป คะแนนสูงสุดในขั้นตอนนี้ไม่เกิน 5 คะแนน
  
ตารางแสดงคะแนนประเมินความสูงของเก้าอี้ในวิธี ROSA
ส่วน
คะแนน
ลักษณะ/ท่าทาง
คะแนนหลัก
1
(ข้อพับเข่ามีมุม 90) เก้าอี้สูงพอเหมาะ
2
เก้าอี้สูงหรือต่ำเกินไป (ข้อพับเข่า < หรือ >90)
3
เก้าอี้สูงมากจนทำให้เท้าของผู้นั่งแตะไม่ถึงพื้น
คะแนนปรับเพิ่ม
+1
พื้นที่ใต้โต๊ะคับแคบไม่สามารถไขว้ขาได้
+1
เก้าอี้ไม่สามารถปรับความสูงได้


รูปแสดงลักษณะการประเมินความสูงของเก้าอี้ในวิธี ROSA
ที่มา : (Sonne, Villalta, & Andrews, 2012)

ขั้นตอนที่ 2 การประเมินความลึกของที่นั่ง (Pan depth)
          ลักษณะของที่นั่งในการปฏิบัติงานในสำนักงานควรมีขนาดที่มีความกว้างและลึกที่เหมาะสม ลักษณะที่นั่งที่แคบเกินไปจะทำให้ผู้นั่งรู้สึกอึดอัดและเคลื่อนที่ได้ไม่สะดวก ส่วนความลึกของที่นั่งจะมีความสำคัญมากต่อท่าทางการนั่งที่เหมาะสม ความลึกที่เหมาะสมคือต้องมีช่องว่างระหว่างข้อพับเข่าและขอบที่นั่งประมาณ  5-7 ซม. ถ้านั่งมีความลึกน้อยเกินไปซึ่งทำให้ส่วนข้อพับของผู้นั่งยื่นออกมาจากขอบของที่นั่งมาก จะทำให้ข้อพับเข่าไม่มีจุดรองรับน้ำหนัก ในขณะเดียวกันถ้าที่นั่งมีความลึกมากเกินไปจะทำให้ผู้นั่งไม่สามารถพิงกับพนักพิงได้ ซึ่งจะทำให้ไม่มีการหนุนส่วนหลังอย่างเพียงพอและจะนำไปสู่การปวดเมื่อยบริเวณหลังส่วนล่างได้ รายละเอียดการประเมินความเหมาะสมของความลึกของเก้าอี้แสดงดังตาราง และรูปคะแนนสูงสุดของการประเมินขั้นตอนนี้ไม่เกิน 3 คะแนน

 ตารางแสดงคะแนนการประเมินความลึกของเก้าอี้ในวิธี ROSA
ส่วน
คะแนน
ลักษณะ/ท่าทาง
คะแนนหลัก
1
ช่องว่างระหว่างข้อพับเข่าและขอบของที่นั่งประมาณ 5-7 ซม.
2
ที่นั่งยาวเกินไป นั่นคือ ช่องว่าง น้อยกว่า 5 ซม.
2
ที่นั่งสั้นเกินไป นั่นคือ ช่องว่าง  มากกว่า 7 ซม.
คะแนนปรับเพิ่ม
+1
ไม่สามารถปรับระยะระหว่างข้อพับเข่า และขอบที่นั่งได้


รูปแสดงลักษณะการประเมินความลึกของเก้าอี้ในวิธี ROSA
ที่มา : (Sonne, Villalta, & Andrews, 2012)

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินที่พักแขน (Armrest)
          ลักษณะที่พักแขนที่เหมาะสมจะต้องทำให้ผู้นั่งวางแขนในท่าทางที่ดูผ่อนคลาย และมีมุมของข้อศอกอยู่ประมาณ 90 ((CSA)International, 2000) ที่วางแขนจะช่วยทำให้ผู้นั่งรู้สึกสบายมากขึ้น (Hasegawa & Kumashiro, 1998) และช่วยลดการเกร็งหรือการใช้แรงแบบสถิตบริเวณหัวไหล่และกล้ามเนื้อแขนในระหว่างการใช้เมาส์ ((CSA)International, 2000) และ (Lueder & Allie, 1997) รายละเอียดของคะแนนการประเมินที่พักแขน แสดงดังตาราง
ตารางแสดงคะแนนการประเมินที่พักแขนในวิธี ROSA
ส่วน
คะแนน
ลักษณะ/ท่าทาง
คะแนนหลัก
1
ลักษณะข้อศอกมีมุมประมาณ 90 และไหล่ดูผ่อนคลาย
2
ที่พักแขนสูงเกินไป ไหล่อยู่ในลักษณะยกขึ้น
2
ที่พักแขนต่ำเกินไป ข้อศอกไม่มีที่รองรับ
คะแนนปรับเพิ่ม
+1
ที่พักแขนมีพื้นผิวแข็งเกินไปหรือ ชำรุดเสียหาย ทำให้วางได้ไม่เต็มทั้งแขน
+1
ระยะของที่พักแขนกว้างเกินไป
+1
ที่พักแขนปรับไม่ได้


รูปแสดงลักษณะการประเมินที่พักแขนในวิธี ROSA
ที่มา : (Sonne, Villalta, & Andrews, 2012)

ขั้นตอนที่ 4 การประเมินพนักพิง (Backrest)
          ลักษณะพนักพิงที่ดีจะต้องมีที่รองรับบริเวณส่วนเอวของผู้นั่งด้วยเพื่อให้ลดความล้าของกล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนล่าง (Harrison, Harrison, Croft, Harrison, & Troyanovich, 1999) พนักพิงที่เหมาะสมจะต้องมีความลาดเอียงประมาณ 95-100 ((CSA)International, 2000) เพื่อทำให้ผู้นั่งอยู่ในระยะที่สามารถทำงานบนโต๊ะทำงานและเอื้อมถึงอุปกรณ์ต่างๆได้อย่างสะดวก รายละเอียดของคะแนนการประเมินพนักพิงแสดงดังตารางและรูป คะแนนการประเมินในขั้นตอนนี้มีค่าสูงสุดไม่เกิน 4 คะแนน

ตารางแสดง คะแนนการประเมินพนักพิงในวิธี ROSA
ส่วน
คะแนน
ลักษณะ/ท่าทาง
คะแนนหลัก
1
มีพนักพิงที่เหมาะสม มีที่รองเอว พนักพิงเอียง 95-100
2
ไม่มีที่รองเอว หรือที่รองเอวไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
2
พนักพิงเอียง >110 หรือ <95
2
ไม่มีพนักพิง (มีท่าทางการนั่งที่ไม่เหมาะสม)
คะแนนปรับเพิ่ม
+1
พนักพิงปรับไม่ได้
+1
พื้นโต๊ะทำงานสูงเกินไป (ใช้อยู่ในลักษณะยกไหล่)


รูปแสดงลักษณะการประเมินพนักพิง
ที่มา : (Sonne, Villalta, & Andrews, 2012)

ขั้นตอนที่ 5 การประเมินหน้าจอ (Monitor)
          หน้าจอควรอยู่ในตำแหน่ง 40 – 75 ซม. ห่างจากผู้ใช้ ((CSA)International, 2000) การประมาณระยะระหว่างหน้าจอและผู้ใช้สามารถประมาณจากความยาวของแขนของผู้ใช้ก็ได้ (Sonne, Villalta, และ Andrews, 2012) ระยะของหน้าจอควรอยู่ระดับเดียวกับสายตาหรือต่ำกว่าเล็กน้อย ระดับต่ำสุดของหน้าจอ (ขอบล่างของหน้าจอ) ควรจะอยู่ไม่ต่ำกว่า 30 ของแนวระดับสายตาของผู้ใช้ รายละเอียดการประเมินส่วนของหน้าจอแสดงดังตารางและรูป คะแนนสูงสุดของขั้นตอนนี้ไม่เกิน 6 คะแนน

ตารางแสดงคะแนนการประเมินหน้าจอในวิธี ROSA
ส่วน
คะแนน
สภาพ
คะแนนหลัก
1
หน้าจอมีระยะประมาณความยาวแขน (40-75 ซม.) และหน้าจออยู่ระดับสายตาผู้ใช้
2
หน้าจอต่ำเกินไป (ทำให้ต้องก้มคอเพื่อมองจอภาพ)
3
หน้าจอสูงเกินไป (ทำให้ต้องเงยคอเพื่อมองจอภาพ)
คะแนนปรับเพิ่ม
+1
ผู้ใช้ต้องหมุนคอเพื่อมองจอภาพ
+1
ไม่มีที่แขวนเอกสาร (ถ้าจำเป็น)
+1
มีแสงสะท้อนบนหน้าจอ


รูปแสดงลักษณะการประเมินหน้าจอในวิธี ROSA
ที่มา : (Sonne, Villalta, & Andrews, 2012)

ขั้นตอนที่ 6 การประเมินโทรศัพท์ (phone)
          การใช้งานโทรศัพท์ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงอันหนึ่งต่อการปวดเมื่อยของผู้ทำงานในสำนักงาน โทรศัพท์ควรวางอยู่ในตำแหน่งที่ห่างจากผู้ใช้ไม่เกิน 30 ซม. ((CSA)International, 2000) สิ่งที่สำคัญในการใช้โทรศัพท์คือ ห้ามมีให้ผู้ใช้ถือโทรศัพท์ในท่าทางไม่เหมาะสม เช่น วางอยู่ระหว่างคอและไหล่ เพราะจะทำให้เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติได้ ในกรณีที่ผู้ใช้จำเป็นที่จะต้องใช้มือในการทำงานอย่างอื่นและไม่สามารถจับโทรศัพท์ด้วยมือได้ควรจะเปลี่ยนไปใช้โทรศัพท์แบบไร้มือจับ (Hands free) เช่น มีลำโพง (พูด-ฟัง) ในตัว (Speaker phone) หรืออุปกรณ์สวมศีรษะ (Headset) เป็นต้น รายละเอียดของคะแนนการประเมินการใช้โทรศัพท์แสดงดังตาราง และรูป คะแนนสูงสุดของขั้นตอนนี้ไม่เกิน 5 คะแนน

ตารางแสดงคะแนนการประเมินโทรศัพท์ในวิธี ROSA
ส่วน
คะแนน
ลักษณะ/ท่าทาง
คะแนนหลัก
1
มีการใช้อุปกรณ์สวมศีรษะ (Headset) หรือจับหูฟังด้วยมือและคออยู่ในท่าทางตรง ตำแหน่งของโทรศัพท์อยู่ห่างไม่เกิน 30 ซม.
2
ระยะโทรศัพท์ห่างเกิน 30 ซม.
คะแนนปรับเพิ่ม
+2
วางหูฟังโทรศัพท์ระหว่าง คอและไหล่เมื่อใช้งาน
+1
โทรศัพท์ไม่มีระบบที่ทำงานโดยไร้มือจับ (Hands free) เช่น ลำโพง (Speaker phone) หรือ อุปกรณ์สวมศีรษะ (Headset)


รูปแสดงลักษณะการประเมินโทรศัพท์ในวิธี ROSA
ที่มา : (Sonne, Villalta, & Andrews, 2012)

ขั้นตอนที่ 7 การประเมินเมาส์ (Mouse)
          ตำแหน่งของการใช้เมาส์ที่เหมาะสม ผู้ใช้จะต้องวางเมาส์ให้อยู่ในแนวเส้นตรงเมื่อเทียบกับไหล่ ((CSA)International, 2000) ระดับของเมาส์ควรอยู่ในระดับเดียวกับแป้นพิมพ์เพื่อทำให้เมื่อใช้งานไหล่ของผู้ใช้จะอยู่ในลักษณะที่ผ่อนคลาย ลักษณะของข้อมือจะต้องอยู่ในแนวกับแขนส่วนล่าง และไม่เบี่ยงไปทางซ้ายหรือขวา รวมทั้งไม่ควรมีการเงยของข้อมือมากเกินไป รูปร่างของเมาส์ควรจะมีขนาดพอเหมาะกับขนาดของมือผู้ใช้ รายละเอียดของการประเมินคะแนนในส่วนของการใช้เมาส์แสดงดังตาราง และรูป คะแนนสูงสุดของการประเมินในขั้นตอนนี้ไม่เกิน 6 คะแนน

ตารางแสดงคะแนนการประเมินเมาส์ในวิธี ROSA
ส่วน
คะแนน
ลักษณะ/ท่าทาง
คะแนนหลัก
1
เมาส์อยู่ในแนวเดียวกับไหล่
2
เมาส์ไม่ได้อยู่ในแนวเดียวกับไหล่ การเชื่อมถึงเมาส์ไม่สะดวกเช่น อยู่ห่างจากแป้นพิมพ์
คะแนนปรับเพิ่ม
+1
เมาส์มีขนาดเล็กเกินไป ต้องใช้นิ้วมือในการเคลื่อนที่เมาส์มากกว่าการใช้ฝ่ามือ
+2
เมาส์กับแป้นพิมพ์อยู่ต่างระดับกัน
+1
ไม่มีที่รองข้อมือหรือที่รองข้อมือมีพื้นผิวแข็ง หรือมีจุดกดทับในขณะที่ใช้งานเมาส์



รูปแสดงลักษณะการประเมินเมาส์ในวิธี ROSA
ที่มา : (Sonne, Villalta, & Andrews, 2012)

ขั้นตอนที่ 8 การประเมินแป้นพิมพ์ (Key board)
          การวางแป้นพิมพ์ให้เหมาะสมควรจะอยู่ในระดับที่ทำให้ข้อศอกของผู้ใช้งอประมาณ 90 และไหล่อยู่ในลักษณะที่ผ่อนคลาย ((CSA)International, 2000) ข้อมือของผู้ใช้ควรอยู่ในลักษณะตรง ถ้าแป้นพิมพ์อยู่ในระดับสูงเกินไปอาจทำให้มีผลต่อการปวดเมื่อยบริเวณหลังส่วนบนและกล้ามเนื้อหัวไหล่ได้ (Korhonen, Ketola, Toivonen, Luukkonen, Hakkanen, & Viikari-Juntura, 2003) และ (Marcus, et al., 2002) การใช้งานแป้นพิมพ์เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยบริเวณข้อมือทั้งในส่วนของท่าทางที่มีการงอข้อมือขึ้นและการเบี่ยงข้อมือไปทางซ้ายหรือขวา ซึ่งมีลักษณะการประเมินเช่นเดียวกับวิธี RULA (McAtamney & Corlett, 1993) รายละเอียดการประเมินแป้นพิมพ์แสดงดังตาราง และรูป คะแนนสูงสุดของการประเมินขั้นตอนนี้ไม่เกิน 6 คะแนน

ตารางแสดง คะแนนการประเมินแป้นพิมพ์ในวิธี ROSA
ส่วน
คะแนน
ลักษณะ/ท่าทาง
คะแนนหลัก
1
ข้อมือตรงและไหล่อยู่ในลักษณะผ่อนคลาย
2
ข้อมืองอขึ้นมากกว่า 15
คะแนนปรับเพิ่ม
+1
ข้อมือเบี่ยงออกซ้าย-ขวา ขณะพิมพ์
+1
ระดับแป้นพิมพ์สูงเกินไป ไหล่ผู้ใช้อยู่ลักษณะยกขึ้น
+1
ที่วางแป้นพิมพ์ปรับระดับไม่ได้
+1
ต้องมีการใช้งานหรือหยิบอุปกรณ์ที่อยู่ในระดับเหนือศีรษะ


รูปแสดงลักษณะการประเมินแป้นพิมพ์ในวิธี ROSA
ที่มา : (Sonne, Villalta, & Andrews, 2012)

ขั้นตอนที่ 9 การหาค่าคะแนนของเก้าอี้
          ในขั้นตอนนี้จะเป็นการนำคะแนนการประเมินในส่วนของความสูงของเก้าอี้ (ขั้นตอนที่ 1) มารวมกับคะแนนการประเมินความลึกของที่นั่ง (ขั้นตอนที่ 2) ซึ่งจะเป็นคะแนนที่นำมาใช้ในการอ่านค่าของตาราง ของวิธี ROSA ในแนวตั้ง คะแนนในแนวตั้งจะมีค่าอยู่ระหว่าง 2-8 คะแนน (คะแนนความสูงของเก้าอี้ไม่เกิน 5 คะแนน + คะแนนความลึกของที่นั่งไม่เกิน 3 คะแนน) สำหรับคะแนนในแนวนอนของตาราง A ได้มาจากคะแนนประเมินที่พักแขน (ขั้นตอนที่ 3) บวกกับคะแนนประเมินพนักพิง (ขั้นตอนที่ 4) ซึ่งคะแนนในแนวนอนจะมีค่าอยู่ระหว่าง 2-9 (คะแนนที่พักแขนไม่เกิน 5 คะแนน + คะแนนพนักพิงไม่เกิน 4 คะแนน) คะแนนของเก้าอี้มาจากคะแนนที่อ่านได้จากจุดตัดของ 2 แนวในตาราง A

ตารางแสดงคะแนนเก้าอี้ (ตาราง A) ในวิธี ROSA



ที่พักแขน/พนักพิง


2
3
4
5
6
7
8
9
ความสูงของเก้าอี้/ความลึกของที่นั่ง
2
1
2
3
4
5
6
7
8
3
2
2
3
4
5
6
7
8
4
3
3
3
4
5
6
7
8
5
4
4
4
4
5
6
7
8
6
5
5
5
5
6
7
8
9
7
6
6
6
7
7
8
8
9
8
7
7
7
8
8
9
9
9

ที่มา : (Sonne, Villalta, & Andrews, 2012)
ขั้นตอนที่ 10 การประเมินระยะเวลาการใช้งาน (Duration)
          ระยะเวลาที่ผู้ใช้ใช้งานอุปกรณ์ต่างๆในแต่ละวันจะมีผลต่อการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อในแต่ละส่วน ดังนั้นในการประเมินจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงระยะเวลาการใช้งานแต่ละอุปกรณ์ด้วย ในขั้นตอนนี้จะต้องทำการประเมินอุปกรณ์แยกส่วนกัน

ตารางแสดงคะแนนการประเมินระยะเวลาการใช้งานในวิธี ROSA
คะแนน
การใช้งาน
-1
ใช้อุปกรณ์ต่ำกว่า 1 ซม./วัน (ไม่ต่อเนื่อง) หรือใช้ต่ำกว่า 30 นาทีอย่างต่อเนื่อง
0
ใช้อุปกรณ์ 1-4 ชม./วัน (ไม่ต่อเนื่อง) หรือใช้ 30 นาที –1ชม. อย่างต่อเนื่อง
+1
ใช้อุปกรณ์มากกว่า 4 ชม./วัน (ไม่ต่อเนื่อง) หรือใช้มากกว่า 1 ชม.อย่างต่อเนื่อง
                  
       คะแนนการประเมินระยะเวลาการใช้งานจะนำไปรวมกับคะแนนของเก้าอี้ (ขั้นตอนที่ 9) จะได้เป็นคะแนนรวมของส่วนเก้าอี้ (ในวิธีของ ROSA จะเรียกว่า คะแนนส่วนนี้ว่าคะแนน A ซึ่งมีค่าสูงสุดไม่เกิน 10 คะแนน) สำหรับคะแนนประเมินของหน้าจอโทรศัพท์ เมาส์ และแป้นพิมพ์ที่ได้จากการประเมินในขั้นตอนที่ 5 ถึง 8 ตามลำดับ จะนำมารวมกับคะแนนการประเมินระยะเวลาการใช้งานของอุปกรณ์นั้นๆ ก่อนที่จะนำไปเปิดตารางเพื่อหาค่าต่อไป

ขั้นตอนที่ 11 การหาค่าคะแนนรวมของอุปกรณ์เสริม (คะแนน B และ คะแนน C)
หลังจากที่ได้รวมคะแนนการประเมินระยะเวลาการใช้งานกับคะแนนของอุปกรณ์ต่างๆแล้ว นำค่าคะแนนโทรศัพท์และคะแนนจอภาพมาอ่านค่าคะแนนในตาราง B (คะแนนส่วนนี้จะเรียกว่า คะแนน B) และนำค่าคะแนนเมาส์และคะแนนแป้นพิมพ์มาอ่านค่าคะแนน ในตาราง C (คะแนนส่วนนี้จะเรียกว่า คะแนน C)

ตารางแสดงคะแนนรวมโทรศัพท์และจอภาพ (ตาราง B)


จอภาพ


0
1
2
3
4
5
6
7
โทรศัพท์
0
1
1
1
2
3
4
5
6
1
1
1
2
2
3
4
5
6
2
1
2
2
3
3
4
6
7
3
2
2
3
3
4
5
6
8
4
3
3
4
4
5
6
7
8
5
4
4
5
5
6
7
8
9
6
5
5
6
7
8
8
9
9

 ที่มา : (Sonne, Villalta, & Andrews, 2012)


 ตารางแสดงคะแนนรวมเมาส์และแป้นพิมพ์ (ตาราง C )



แป้นพิมพ์


0
1
2
3
4
5
6
7
เมาส์
0
1
1
1
2
3
4
5
6
1
1
1
2
3
4
5
6
7
2
1
2
2
3
4
5
6
7
3
2
3
3
3
5
6
7
8
4
3
4
4
5
5
6
7
8
5
4
5
5
6
6
7
8
9
6
5
6
6
7
7
8
8
9
7
6
7
7
8
8
9
9
9

 ที่มา : (Sonne, Villalta, & Andrews, 2012)

ขั้นตอนที่ 12 การหาค่าคะแนนรวมของจอภาพและอุปกรณ์เสริม
จากขั้นตอนที่ 11 นำคะแนนประเมินโทรศัพท์และจอภาพ (คะแนน B) และคะแนนประเมินเมาส์และแป้นพิมพ์ (คะแนน C) มาอ่านค่าคะแนนใน ตารางD (ในที่นี้เรียกว่า คะแนน D)

ตารางแสดง คะแนนรวมของจอภาพและอุปกรณ์ (ตาราง D)



เมาส์และแป้นพิมพ์ (คะแนน C)


1
2
3
4
5
6
7
8
9
จอภาพและโทรศัพท์
(คะแนนB)
1
1
2
3
4
5
6
7
8
9
2
2
2
3
4
5
6
7
8
9
3
3
3
3
4
5
6
7
8
9
4
4
4
4
4
5
6
7
8
9
5
5
5
5
5
5
6
7
8
9
6
6
6
6
6
6
6
7
8
9
7
7
7
7
7
7
7
7
8
9
8
8
8
8
8
8
8
8
8
9
9
9
9
9
9
9
9
9
9
9

    ที่มา : (Sonne, Villalta, & Andrews, 2012)
 ขั้นตอนที่ 13 การหาค่าคะแนนรวมและการสรุปผล
          นำคะแนนรวมของเก้าอี้ที่ประเมินระยะเวลาการใช้งานแล้ว จากขั้นตอนที่ 10 และคะแนนรวมของจอภาพและอุปกรณ์ (หรือเรียกว่าคะแนน D) จากขั้นตอนที่ 12 มาอ่านค่าคะแนนในตารางซึ่งเป็นคะแนนสุดท้าย (Final score)
         
     ตารางแสดงคะแนนรวมสุดท้ายของวิธี ROSA


จอภาพและอุปกรณ์ (คะแนน D)


1
2
3
4
5
6
7
8
9
เก้าอี้
(คะแนน A)
1
1
2
3
4
5
6
7
8
9
2
2
2
3
4
5
6
7
8
9
3
3
3
3
4
5
6
7
8
9
4
4
4
4
4
5
6
7
8
9
5
5
5
5
5
5
6
7
8
9
6
6
6
6
6
6
6
7
8
9
7
7
7
7
7
7
7
7
8
9
8
8
8
8
8
8
8
8
8
9
9
9
9
9
9
9
9
9
9
9
10
10
10
10
10
10
10
10
10
10

    ที่มา : (Sonne, Villalta, & Andrews, 2012)

ค่าคะแนน ROSA สามารถสรุปผลการประเมินได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
          - คะแนนน้อยกว่า 5 คะแนน หมายถึงยังไม่จำเป็นต้องมีการประเมิน หรือศึกษาเพิ่มเติม

          - คะแนนตั้งแต่ 5 คะแนนขึ้นไป หมายถึง จำเป็นต้องมีการประเมิน หรือศึกษาเพิ่มเติมทันที