ขั้นตอนที่ 3 : การประเมินโดยละเอียดหรือการประเมินเชิงลึก
ในขั้นตอนนี้จะดำเนินการหลังจากที่ได้มีการเลือกกิจกรรมหรือขั้นตอนที่มีความเสี่ยงทางการยศาสตร์ (จากผลการประเมินเบื้องต้นในขั้นตอนที่แล้ว) และจะทำการประเมินโดยละเอียดหรือประเมินเชิงลึกโดยการใช้วิธีการและเทคนิคต่างๆ กรณีที่เป็นการประเมินลักษณะท่าทางของผู้ปฏิบัติงาน นิยมใช้วิธีการสังเกตและประเมินด้วยเทคนิคอย่างง่าย เช่น RULA REBA OWAS เป็นต้น กรณีที่ต้องการประเมินปัจจัยภายในร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการวัดค่าตัวแปรที่ต้องการศึกษาโดยใช้เครื่องมือวัดหรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่อง EMG เครื่องวัดการใช้ออกซิเจน เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 4 : การวิเคราะห์ข้อมูลและค้นหาปัจจัยเสี่ยง
หลังจากที่ได้มีการเก็บข้อมูลและประเมินเชิงลึกโดยการใช้เทคนิคหรือเครื่องมือแล้ว ข้อมูลที่ได้จะนำมาวิเคราะห์โดยการใช้เทคนิคทางสถิติ เช่น ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น นอกจากนั้นอาจนำมาวิเคราะห์เพื่อค้นหาความสัมพันธ์หรือชี้บ่งความเสี่ยงที่เกิดขึ้น โดยการใช้สถิติ เช่น ไคร์สแคว์ ANOVA T-test F-test เป็นต้น
ข้อมูลที่ได้จากการประเมินระดับความเสี่ยงด้วยเทคนิคและวิธีการต่างๆอาจจะนำมาประเมินระดับความเร่งด่วนในการแก้ปัญหาด้วยการประเมินร่วมกับปัจจัยหรือข้อมูลอื่นๆ เช่น สถิติการบาดเจ็บ ผลการสำรวจความคิดเห็นของพนักงานเกี่ยวกับความรู้สึกไม่สบาย เป็นต้น โดยในการประเมินอาจมีการกำหนดเกณฑ์เพื่อให้การประเมินมีความสม่ำเสมอ ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยงของงานแต่ละงานมาจาก 3 ส่วนด้วยกัน คือ สถิติการบาดเจ็บของพนักงาน ความคิดเห็นของพนักงาน (เกี่ยวกับความรู้สึกไม่สบาย) ผลการประเมินความเสี่ยงด้วยเทคนิคต่างๆ โดยแต่ละส่วนมีเกณฑ์การให้ระดับความรุนแรง ตั้งแต่ 1-4 คะแนน ดังนี้
1 หมายถึง ระดับความรุนแรงน้อย
2 หมายถึง ระดับความรุนแรงค่อนข้างน้อย
3 หมายถึง ระดับความรุนแรงค่อนข้างมาก
4 หมายถึง ระดับความรุนแรงมาก
ตัวอย่างการประเมินระดับความเร่งด่วนในการแก้ปัญหา
งาน
|
สถิติการบาดเจ็บ
(1)
|
ความคิดเห็นพนักงาน
(2)
|
การประเมินความเสี่ยง
(3)
|
ระดับความเสี่ยงโดยรวม
(1)+(2)+(3)
|
งานที่ 1
|
1
|
2
|
3
|
6
|
งานที่ 2
|
2
|
1
|
1
|
4
|
งานที่ 3
|
1
|
2
|
2
|
5
|
งานที่ 4
|
3
|
3
|
4
|
10
|
ทั้งนี้การให้คะแนนระดับความรุนแรงอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละองค์กร โดยองค์กรควรกำหนดขึ้นเองตามความเหมาะสม เมื่อได้มีการให้ระดับคะแนนในแต่ละส่วนไปแล้วคะแนนระดับความเสี่ยงโดยรวมจะได้มาจากผลรวมระดับคะแนนความรุนแรงของทั้ง 3 ส่วน ซึ่งคะแนนรวมนี้จะมีค่าต่ำสุดคือ 3 และสูงสุดคือ 12 คะแนน จากนั้นนำมาสรุปเพื่อหาความเร่งด่วนในการปรับปรุงได้จากเกณฑ์
เกณฑ์ประเมินระดับความเร่งด่วนในการปรับปรุง
ระดับคะแนน
|
ระดับความเร่งด่วนในการปรับปรุง
|
1-3
|
งานนั้นยอมรับได้
|
4-6
|
งานนั้นควรต้องมีการปรับปรุง
|
7-9
|
งานนั้นมีความจำเป็นที่ต้องปรับปรุงด่วน
|
10-12
|
งานนั้นต้องมีการปรับปรุงโดยทันที / เร่งด่วนมาก
|