วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557

แบบประเมินความเครียด ST-20



คะแนนรวมจากการประเมินความเครียด ST-20 มีคะแนนสูงสุดไม่เกิน 60 คะแนน คะแนนที่ได้สามารถแปลผลระดับความเครียดได้
ตาราง  การแปลผลคะแนนของแบบประเมินความเครียด ST-20
คะแนน
การแปลผล
คำอธิบาย
2 – 5
ระดับความเครียดต่ำมาก
อาจหมายความว่าผู้ตอบตอบไม่ตรงกับความเป็นจริงหรืออาจเข้าใจคำถามคลาดเคลื่อน หรือผู้ตอบอาจเป็นคนที่ขาดแรงจูงใจมีความเฉื่อยชา หรือชีวิตประจำวันที่ซ้ำซากจำเจ น่าเบื่อ ปราศจากความตื่นเต้น
6 – 17
ระดับความเครียดอยู่ในเกณฑ์ปกติ
สามารถจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันและสามารถปรับตัวกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม รู้สึกพึงพอใจเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ความเครียดในระดับนี้ถือว่ามีประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เป็นแรงจูงใจที่นำไปสู่ความสำเร็จในชีวิตได้
18 – 25
ระดับความเครียดสูงกว่าปกติเล็กน้อย
เป็นความเครียดที่พบได้ในชีวิตประจำวันอาจไม่รู้ตัวว่ามีความเครียดหรืออาจรู้สึกได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย อารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรมบ้างเล็กน้อย แต่ไม่ชัดเจนและยังพอทนได้ อาจต้องใช้เวลาในการปรับตัวแต่ในที่สุดก็สามารถจัดการกับความเครียดได้ ความเครียดระดับนี้ไม่เป็นผลเสียต่อการดำเนินชีวิต ในกรณีนี้สามารถผ่อนคลายความเครียดด้านการหากิจกรรมที่เพิ่มพลัง เช่น การออกกำลังกาย เล่นกีฬา ทำสิ่งที่สนุกสนาน เพลิดเพลิน เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ หรือทำงานอดิเรกต่างๆ
26 – 29
ระดับความเครียดสูงกว่าปกติปานกลาง
เริ่มมีความตึงเครียดในระดับค่อนข้างสูงและได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมากจากปัญหาทางอารมณ์ที่เกิดจากปัญหาความขัดแย้ง และวิกฤตการณ์ ในชีวิตเป็นสัญญาณเตือน กำลังเผชิญกับภาวะวิกฤตและความขัดแย้ง ซึ่งจัดการแก้ไขด้วยความยากลำบากลักษณะดังกล่าวจะเพิ่มความรุนแรง ซึ่งมีผลกระทบต่อการทำงานจำเป็นต้องหาวิธีการแก้ไขข้อขัดแย้งต่างๆ ให้ลดน้อยลงหรือหมดไปด้วยวิธีการอย่างใด อย่างหนึ่ง สิ่งแรกที่ต้องการรีบจัดการคือ ต้องมีวิธีคลายเครียดที่ดีและสม่ำเสมอทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง ครั้งละ 10 นาที โดยนั่งในท่าที่สบาย หายใจลึกๆให้หน้าท้องขยาย หายใจออกช้าๆนับ 1-10 ไปด้วย จะใช้วิธีการนั่งสมาธิหรือสวดมนต์ก็ได้
30 ขึ้นไป
ระดับความเครียดสูงกว่าปกติมาก
กำลังตกอยู่ในภาวะตึงเครียดหรือกำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ในชีวิตอย่ารุนแรง เช่น การเจ็บป่วยที่รุนแรง เรื้อรัง ความพิการ การสูญเสีย ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจซึ่งมีผลต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิตอย่างชัดเจน ทำให้ชีวิตไม่มีความสุข ความคิดฟุ้งซ่าน ตัดสินใจผิดพลาด ขาดความยับยั้งชั่งใจ อาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย บางครั้งอาจมีพฤติกรรม ก้าวร้าวรุนแรง เช่น เอะอะโวยวาย ขว้างปาข้าวของความเครียดในระดับนี้ถือว่ามีความรุนแรงมาก หากปล่อยไว้โดยไม่ดำเนินการแก้ไขอย่างเหมาะสมและถูกวิธี อาจนำไปสู่ความเจ็บป่วยทางจิตที่รุนแรง ซึ่งส่งผลเสียต่อตนเองและบุคคลใกล้ชิดต่อไป

ที่มา : (กรมสุขภาพจิต, 2011)