วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การตรวจประเมินโดยใช้แบบประเมินอย่างง่าย



3. ลักษณะงานและท่าทางการทำงาน
        - สิ่งของหรือชิ้นงาน ควรวางในตำแหน่งที่ผู้ปฏิบัติงานไม่ต้องเอื้อมมือหยิบเกิน 40 ซม. และมีน้ำหนักไม่เกิน 5 กก. (กรณีที่มีการยกหรือแบกอุ้มน้ำหนักของสิ่งของไม่เกิน 25 กก.) สิ่งของที่หยิบไม่ควรมีความสั่นสะเทือนมาก มีอุณหภูมิสูง-ต่ำมาก มีแสงจ้า มีกลิ่นแรง แตกหักได้ง่าย ลื่นหลุดมือได้ง่าย มีลักษณะที่ยากต่อการหยิบจับ มีมุมแหลมคม

        - ท่าทางการทำงานของผู้ปฏิบัติงานที่มีการทำงานช้ำมากกว่า 5 ครั้งต่อนาที ไม่ควรจะอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม เช่น ก้ม นั่งยองลง แบกของ เข็นลากของ หยิบของเหนือศีรษะ ใช้นิ้วคีบชิ้นงาน คุกเข่า เอี้ยวตัว เอื้อมมือ ยกไหล่ เอียงคอ เป็นต้น นอกจากนั้นไม่ควรมีการยกของขึ้นลงมากกว่า 1 ครั้งต่อนาทีต่อเนื่องนานกว่า 15 นาที แบกของขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถแบกแนบลำตัว แบกอุ้มของหนักกว่า 25 กก. ยืนหรือนั่งทำงานตลอด 30 นาทีต่อเนื่องโดยไม่ได้เคลื่อนย้ายไปไหน

        - กรณีที่ต้องใช้แรงหรืองานที่มีความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ ได้แก่ งานที่ทำเกี่ยวข้องกับการกระตุกอย่างแรง หรือต้องใช้แรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ งานที่ทำต้องใช้แรงหรือต้องใช้ความเร็วหรือต้องเคลื่อนไหวแบบกระตุก งานที่ทำต้องใช้กล้ามเนื้อหดตัวแบบสถิตอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
        - ผู้ปฏิบัติงานต้องทำงานที่ถูกบังคับให้เร็วตามปัจจัยภายนอก เช่น ความเร็วของสายพาน ความเร็วของเครื่องบรรจุ เป็นต้น หรืออาจจะมีการกำหนดเวลามาตรฐานเอาไว้ทำให้ผู้ปฏิบัติงานต้องรีบทำงานให้ทันกับเวลามาตรฐาน หรือผู้ปฏิบัติงานต้องทำงานรีบเร่งเนื่องจากมีผู้รับบริการรอคอยแถวยาว